ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ฐานเป็นชั้น: จันทิปะนะตะรัน

คำสำคัญ : จันทิ, จันทิปะนะตะรัน, ราชวงศ์มัชฌปาหิต

ชื่อหลักจันทิปะนะตะรัน
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองบลิตาร์
รัฐ/แขวงชวา ตะวันออก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -8.016389
Long : 112.209722

ประวัติการสร้างจันทิปะนะตะรัน ศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดของชวาภาคตะวันออก ตั้งอยู่ใกล้เมืองบลิตาร์ เป็นจันทิที่อุทิศให้กับพระศิวะศาสนสถานแห่งนี้สร้างสมัยราชวงศ์มัชฌปาหิต
ลักษณะทางศิลปกรรมลานประธาน เป็นที่ตั้งของฐานเป็นชั้นเพื่อรองรับจันทิประธาน ฐานเป็นชั้นนี้คงมีความหมายเกี่ยวพันกับเขาพระสุเมรุอันเป็นเขาแกนกลางจักรวาลและเป็นที่ประทับของพระศิวะ อย่างไรก็ตาม อาคารด้านบนฐานดังกล่าวไม่หลงเหลืออยู่แล้วจนถึงปัจจุบัน และอาจเป็นไปได้ที่อาคารหลังนี้อาจเคยเป็นทรง “เมรุ” หรืออาคารหลังคาลาดซ้อนชั้นตามแบบที่ปรากฏในศิลปะบาหลีในปัจจุบัน ฐานชั้นที่หนึ่ง สลักภาพเล่าเรื่องรามายณะบรรจุในกรอบสี่เหลี่ยม เริ่มต้นตั้งแต่ตอนหนุมานเดินทางไปถวายแหวนที่เกาะลังกา การเผากรุงลังกา การจองถนนจนถึงกุมภรรณล้ม ภาพเล่าเรื่องตอนนี้มีลักษณะคล้ายหนังตะลุงชวา (วาหยัง) มาก ฐานชั้นที่สอง สลักเรื่องของพระกฤษณะ ส่วนฐานชั้นบนสุด ได้แก่ฐานที่รองรับเทวาลัยประธาน ปัจจุบันปรากฏภาพสิงห์และนาคมีปีกสลับกัน
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก ราชวงศ์มัชฌปาหิต
อายุพุทธศตวรรษที่ 20
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ลัทธิ/นิกายไศวนิกาย

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี