ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 73 ถึง 80 จาก 90 รายการ, 12 หน้า
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพร้อมด้วยบริวาร
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพร้อมด้วยบริวาร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์นี้ มีเครื่องแต่งกายและประภามณฑลที่มีแนวโน้มไปสู่ศิลปะ ชวาภาคตะวันออกแล้ว และยังมีแผ่นหลังที่ประดับด้วยดอกบัวและใบบัวอันเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยนี้ นอกจากนี้ ระเบียบที่จัดพระโพธิสัตว์พร้อมด้วยบริวารทั้งสี่องค์อยู่บนแผ่นหลังเดียวกันก็เป็นลักษณะที่นิยมในระยะนี้อีกด้วย

พระหริหระ
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระหริหระ

ลักษณะสำคัญของประติมากรรมชวาภาคตะวันออก คือ ที่แผ่นหลังประดับด้วย “ใบบัว”จำนวนมาก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ นอกจากนี้ ประติมากรรมยังถูกตกแต่งด้วยสร้อยเพชรพลอยและอุบะจนเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ตาบ กรรเจียกเพชรพลอย สร้อยยัชโญปวีตไข่มุกที่มีอุบะห้อยจนเต็ม รวมถึงเข็มขัดที่ประดับด้วยไข่มุกและอุบะห้อยจนเต็มที่เช่นกัน

พระวิษณุทรงครุฑจากสระน้ำเบลาหัน
โมโจเกอร์โต
ประติมากรรมพระวิษณุทรงครุฑจากสระน้ำเบลาหัน

รูปแบบครุฑที่มีปากที่ยื่นยาว แสดงการแสยะเขี้ยวอย่างดุร้าย หันไปด้านข้างและแสดงความเคลื่อนไหวอย่างไม่สมมาตร ทั้งหมดนี้ล้วนแต่แสดงความเป็น “ชวาตะวันออก”

พระลักษมีที่สระน้ำเบลาหัน
มาลัง
ประติมากรรมพระลักษมีที่สระน้ำเบลาหัน

รูปแบบของเครื่องแต่งกายพระเทวี ประกอบด้วยลวดลายขมวดม้วนและเครื่องเพชรพลอยจำนวนมาก รวมถึงลายกนกที่ประดับแผ่นหลัง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่แสดงความเป็น “ชวาตะวันออก”

ครุฑตกเป็นทาสของนาค
มาลัง
ประติมากรรมครุฑตกเป็นทาสของนาค

จันทิกิดาล เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803จันทิแห่งนี้มีภาพเล่าเรื่องพญาครุฑขโมยน้ำอมฤตเพื่อมาช่วยพระมารดา น้ำอมฤตเป็นน้ำแห่งความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ จึงสัมพันธ์กับคติเทวาราชา คือช่วยให้ผู้ตายได้รับชีวิตอมตะ

ครุฑกำลังนำน้ำอมฤต
มาลัง
ประติมากรรมครุฑกำลังนำน้ำอมฤต

จันทิกิดาล เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803 จันทิแห่งนี้มีภาพเล่าเรื่องพญาครุฑขโมยน้ำอมฤตเพื่อมาช่วยพระมารดา น้ำอมฤตเป็นน้ำแห่งความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ จึงสัมพันธ์กับคติเทวาราชา คือช่วยให้ผู้ตายได้รับชีวิตอมตะ

ภาพเล่าเรื่อง “ปาณฑพเล่นสกากับเการพ”
ตุมปัง
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “ปาณฑพเล่นสกากับเการพ”

ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”

ภาพเล่าเรื่อง “เปลื้องผ้านางเทราปตี”
ตุมปัง
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่อง “เปลื้องผ้านางเทราปตี”

ภาพเล่าเรื่องในศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมบุคคลค่อนข้างแบนคล้ายคลึงหนังตะลุงชวา หันข้างเพียงอย่างเดียว ไม่มีการหันหน้าตรง มีการแต่งตัวด้วยศิราภรณ์แบบพื้นเมืองแตกต่างไปจากแบบอินเดีย ที่ว่างโดยรอบถมด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเมฆ อาคารเองก็เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกรเบื้องตามอย่างอาคารแบบพื้นเมือง ความเป็นพื้นเมืองทั้งหมดนี้แสดงลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะชวาภาคตะวันออก”