ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 73 ถึง 80 จาก 80 รายการ, 10 หน้า
รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์จากปราสาทถาปมาม แสดการยกแข้งยกขาตามแบบศิลปะจีน รวมทั้งการมีเคราก็แสดงอิทธิพลจีนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หน้าตาของสิงห์ตัวนี้ยังแสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายนที่เข้ามามีบทบาทในศิลปะบิญดิ่นด้วย อนึ่ง เนื่องด้วยการโจมตีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้ประติมากรรมในระยะนี้มีอิทธิพลขอมเข้ามาปะปน

ศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
ประติมากรรมศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย

แม้ว่าปราสาทโพกลวงการายจะมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 แต่หน้าบันรูปพระศิวนาฏราชชิ้นนี้กลับมีอายุเก่ากว่าเล็กน้อย คืออยู่ในศิลปะบิ่ญดิ่น แสดงให้เห็นถึงการนำเอาศิลปกรรมเก่ากลับมาใช้ใหม่ รูปแบบของมงกุฎพระศิวะนั้นสามารถเทียบได้กับมงกุฎในศิลปะบิญดิ่นโดยทั่วไป คือประกอบด้วยตาบเล็กๆ ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ ในรูปสามเหลี่ยม ส่วนผ้านุ่งมีการชักชายผ้ารูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นลักษณะประจำของศิลปะบิญดิ่นเช่นกัน

มุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย
ญาจาง
ประติมากรรมมุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย

พระเศียรของพระศิวะที่มุขลึงค์ประธานของปราสาทโพกลวงการาย มีลักษณะสำคัญตามแบบศิลปะในสมัยหลังโดยทั่วไป กล่าวคือ พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนาม และสวมมงกุฎเป็นทรงกระบอกซึ่งถือเป็นมงกุฎหนึ่งในสองแบบที่นิยมในศิลปะสมัยหลัง มงกุฎอีกแบบหนึ่งที่นิยมในระยะนี้ก็คือแบบกระบังหน้า

ประติมากรรมประธานในปราสาทโพโรเม
ฟานรัง
ประติมากรรมประติมากรรมประธานในปราสาทโพโรเม

ประติมากรรมโพโรเม ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามส่วนมงกุฎมักเป็นทรงกระบอก

ประติมากรรมสมัยหลัง
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง

ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎแบบกระบังหน้า

ประติมากรรมสมัยหลัง
โฮจิมินห์
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง

ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎหมวกทรงกระบอก

ประติมากรรมบุคคลทรงมงกุฎ
ดานัง
ประติมากรรมประติมากรรมบุคคลทรงมงกุฎ

ดูเหมือนประติมากรรมบุคคลนี้จะมีอายุที่เก่าแก่ที่สุดในศิลปะจาม เนื่องจากมีมงกุฎใกล้เคียงกับศิลปะคุปตะของอินเดียอย่างมาก โดยเฉพาะการประดับมงกุฎที่มีตาบกลมจำนวนสามตาบและการทรง “ศิรัศจักร” หรือผ้ารูปกลมจับจีบที่แผ่ด้านหลังพระเศียร

ปราสาทถูเทียน
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทถูเทียน

เป็นปราสาทหลังโดด มีความสูงเป็นอย่างมาก ตั้งอยู่บนพื้นราบ ปราสาทประดับด้วยเสาติดผนังจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย กึ่งกลางเรือนธาตุประดับปราสาทจำลองขนาดใหญ่ ซึ่งตกแต่งด้วยซุ้มใบหอกอีกทีหนึ่ง การที่ปราสาทมีความสูงเป็นอย่างมาก มีเสาติดจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย แสดงให้เห็นลักษณะของปราสาทแบบบิญดิ่นตอนปลาย ปราสาทจำลองที่เรือนธาตุซึ่งมีซุ้มใบหอกประดับก็ถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้เช่นเดียวกัน