ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 217 ถึง 224 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
วิหารพระสิงห์
เชียงใหม่
สถาปัตยกรรมวิหารพระสิงห์

วิหารพระสิงห์มีรูปแบบอาคารเช่นเดียวกับวิหารล้านนารุ่นเก่า มีหลังคาซ้อน 3 ชั้นที่ด้านหน้า และ 2ชั้น ที่ด้านหลัง โดยมีตับหลังคาด้านข้าง 2 ตับ โครงสร้างหลังคาเป็นการเข้าเครื่องไม้เพื่อรับน้ำหนักเรียกว่า ม้าต่างไหม โครงสร้างหลังคาประกอบด้วยหน้าจั่ว ป้านลมหรือตัวรวย ซึ่งมีการประดับช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ส่วนหน้าบันประกอบด้วยรวงผึ้งหรือโก่งคิ้วมีลักษณะเป็นแผงไม้ประดับที่ด้านหน้าระหว่างเสา ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพิ่มมุม มีทางเข้าด้านหน้าเป็นทางเข้าหลัก และมีทางเข้าเล็กๆที่ด้านซ้ายและขวาของอาคาร ที่ทางเข้าหลักประดับราวบันไดด้วยปูนปั้นรูปนาคและตัวมอมซึ่งเป็นสัตว์ผสมในจินตนาการ ทำหน้าที่ดูแลศาสนสถาน

เจดีย์วัดป่าสัก
เชียงราย
สถาปัตยกรรมเจดีย์วัดป่าสัก

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์วัดป่าสัก ได้แก่ ส่วนฐานซึ่งประกอบด้วยฐานเขียงและฐานบัว ที่ท้องไม้ของฐานบัวชั้นล่างทำเป็นช่องสี่เหลี่ยม ชั้นบนประดับด้วยช่องแปดเหลี่ยมโดยรอบ คล้ายกับส่วนฐานของสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี ส่วนเรือนธาตุชั้นล่างเป็นช่อจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปด้านละ 3 ซุ้ม มีซุ้มสลับซุ้มจระนำรูปเทวดา ส่วนฐานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนี้จึงมีรูปแบบใกล้เคียงกับเจดีย์กู่กุดในศิลปะหริภุญชัย ถัดขึ้นมาเป็นชุดเขียงรองรับเรือนธาตุชั้นที่สอง ซึ่งมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปด้านละ 1 องค์ ประดับลวดลายปูนปั้นที่ซุ้มจระนำซึ่งสัมพันธ์กับศิลปะพุกามอย่างที่เรียกว่าซุ้มเคล็ก ส่วนยอดเป็นส่วนของเจดีย์ทรงระฆังที่ไม่มีบัลลังก์ และมีเจดีย์ขนาดเล็กหรือสถูปิกะประดับที่มุมทั้ง 4 องค์เจดีย์ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะจีน

เจดีย์ปยามา
แปร
สถาปัตยกรรมเจดีย์ปยามา

เจดีย์ในศิลปะศรีเกษตร (ปยู) มักเป็นเจดีย์ที่มีอัณฑะขนาดใหญ่ อันเป็นพื้นฐานมาจากศิลปะอมราวดี อย่างไรก็ตาม อัณฑะในศิลปะปยูไม่ได้อยู่ในทรงโอคว่ำอีกต่อไป แต่กลับยืดสูง บางองค์มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลอมฟาง บางองค์ก็คือสูงคล้ายทรงกระบอก สำหรับเจดีย์องค์นี้มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลองฟาง

เจดีย์โบโบจี
แปร
สถาปัตยกรรมเจดีย์โบโบจี

เจดีย์ในศิลปะศรีเกษตร (ปยู) มักเป็นเจดีย์ที่มีอัณฑะขนาดใหญ่ อันเป็นพื้นฐานมาจากศิลปะอมราวดี อย่างไรก็ตาม อัณฑะในศิลปะปยูไม่ได้อยู่ในทรงโอคว่ำอีกต่อไป แต่กลับยืดสูง บางองค์มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลอมฟาง บางองค์ก็คือสูงคล้ายทรงกระบอก สำหรับเจดีย์องค์นี้มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลองฟาง

เจดีย์เลมเยทนา
แปร
สถาปัตยกรรมเจดีย์เลมเยทนา

เจดีย์เลมเยทนา ถือเป็นเจตียวิหารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพม่า เจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดศิขระ (ซึ่งหักหายไปแล้ว) โดยรอบมีพระพุทธรูปสี่ทิศและทางประทักษิณภายใน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นต้นเค้าให้กับแผนผังของเจดีย์ในศิลปะพุกามหลายองค์ เช่น อานันทเจดีย์ เป็นต้น แผนผังแกนกลางและพระพุทธรูปสี่ทิศที่ยังไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกันอานันทเจดีย์นั้น แสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้อยู่ในสมัยศรีเกษตร

ภายในเจดีย์เลมเยทนา
แปร
สถาปัตยกรรมภายในเจดีย์เลมเยทนา

เจดีย์เลมเยทนา ถือเป็นเจตียวิหารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพม่า เจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดศิขระ (ซึ่งหักหายไปแล้ว) โดยรอบมีพระพุทธรูปสี่ทิศและทางประทักษิณภายใน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นต้นเค้าให้กับแผนผังของเจดีย์ในศิลปะพุกามหลายองค์ เช่น อานันทเจดีย์ เป็นต้น แผนผังแกนกลางและพระพุทธรูปสี่ทิศที่ยังไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกันอานันทเจดีย์นั้น แสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้อยู่ในสมัยศรีเกษตร

เจดีย์ชินดัตมยินดัต
มอญ
สถาปัตยกรรมเจดีย์ชินดัตมยินดัต

ศิลปะมอญสะเทิม เจริญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12-16 ในแถบปากแม่น้ำอิระวดีและสาละวินทางตอนใต้ของประเทศพม่า เจดีย์องค์นี้ก็คงเป็นศาสนสถานแห่งหนึ่งภายใต้สกุลศิลปกรรมดังกล่าว ฐานเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลง ซึ่งเป็นวัสดุที่ศิลปะมอญสะเทิมนิยม ฐานมีการแบ่งเป็นช่องๆ โดยแต่ละช่องบรรจุรูปสัตว์ เช่น ช้างหรือสิงห์เป็นต้น เค้าโครงของเจดีย์แบบนี้คล้ายคลึงกับศิลปะทวารวดีอย่างมาก จนอาจมีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่ง

ปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่ใต้ หลังที่ 1
กัมปง ธม
สถาปัตยกรรมปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่ใต้ หลังที่ 1

ปราสาทสมัยก่อนเมืองพระนคร มักสร้างด้วยอิฐและแตกต่างด้วยการสลักอิฐเสมอ โดยไม่มีการเพิ่มมุม แต่มักประดับด้วยเสาติดผนังที่มุมและที่ด้าน ปราสาทสมโบร์ไพรกุกหลังนี้ มีการตกแต่งด้านข้างด้วยเสาติดผนังจำนวน 6 ต้น แบ่งพื้นที่เรือนธาตุออกเป็น 5 เก็จ โดยเก็จประธานประดับซุ้มประตูทรงปราสาท ส่วนเก็จข้างประดับ “วิมานลอย” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยก่อนเมืองพระนคร ยอด้ายบนมีลักษณะเป็นเรือนธาตุซ้อนชั้นตามอย่างวิมาน อินเดียใต้ โดยแต่ละชั้นมีการประดับปราสาทจำลองซึ่งมีบันไดเป็นระยะๆ ปราสาทจำลองเช่นนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยก่อนเมืองพระนครเช่นกัน