ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 473 ถึง 480 จาก 941 รายการ, 118 หน้า
มัสยิดฮัญญะฮฺ ฟาติมะฮฺ
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดฮัญญะฮฺ ฟาติมะฮฺ

เป็นมัสยิดที่น่าสนใจมากเนื่องจากผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียแบบโมกุลและศิลปะยุโรป โดยเฉพาะหอคอยของมัสยิดซึ่งสร้างเป็นแบบตะวันตก คือเป็นหอคอยแปดเหลี่ยมที่มียอดเป็นทรงกระโจมแหลมคล้ายคลึงกับหอคอยของโบสถ์ในศาสนาคริสต์เป็นอย่างมาก ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการออกแบบของสถาปนิกชาวอังกฤษ

พระพรหมภายในเจดีย์นันปยะ
พุกาม
ประติมากรรมพระพรหมภายในเจดีย์นันปยะ

เจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม ภายในอาคารปรากฏเสาสี่ต้นรองรับยอดศิขระ โดยรอบปรากฏภาพสลักพระพรหมซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏเฉพาะที่นี่เท่านั้น รูปแบบของพระพรหมและประติมานวิทยายังคล้ายคลึงกับพระพรหมในศิลปะปาละอยู่มาก จากกำหนดอายุโบราณสถานแห่งนี้อยู่ในสมัยพุกามตอนต้น

หน้าต่างของเจดีย์นันปยะ
พุกาม
ประติมากรรมหน้าต่างของเจดีย์นันปยะ

หน้าต่างของแจดีย์นันปยะถือเป็นหน้าต่างของเจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม เป็นหนาต่างที่มีแผ่นหินมาปิดทำให้ภายในอาคารมืดทึบ ซึ่ถือเป็นสุนทรียภาพในสมัยพุกามตอนต้น ซุ้มเคล็กที่นี่เป็นเคล็กสั้นและเอียงเข้าหาจุดศูนย์กลางตามแบบพุกามตอนต้น ที่เสาติดผนังเองก็ปรากฏกาบบนแต่ไม่มีกาบล่างและประจำยามอก ซึ่งถือเป็นกาบในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม

พระพุทธรูปในมนูหะ
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปในมนูหะ

แม้ว่าจะมีประวัติเก่าแก่ไปถึงรัชสมัยพราะเจ้าอโนรธา แต่พระพุทธรูปองค์นี้ก็”ด้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง จนรูปแบบดั้งเดิมไม่หลงเหลืออยู่

ภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก
พุกาม
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก

เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก

ภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม
พุกาม
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม

เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก

พระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
โฮจิมินห์
ประติมากรรมพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระพุทธรูปมีลักษณะตามอย่างศิลปะอมราวดีหรือลังกา กล่าวคือมีอุษณีษะต่ำ พระเกศาขมวดก้นหอย ห่มจีวรเฉียง จีวรเป็นริ้วทั้งองค์ มีขอบจีวรหนายกขึ้นมาพาดพระกรซ้ายเป็นรูปสามเหลี่ยม พระพุทธรูปยกพระหัตถ์ขวาแสดงวิตรรกมุทราและยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นมาจับชายจีวรขนานกันกับพระหัตถ์ขวา รูปแบบทั้งหมดนี้แสดงว่าพระพุทธรูปองค์นี้อาจะเป็นของนำเข้ามาจากอินเดียใต้หรือลังกา

ฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
สถาปัตยกรรมฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E

ฐานสลักหิน ประกอบไปด้วยบันไดทางขึ้นและตัวฐาน โดยบันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น ส่วนตัวฐานเองก็ได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ซุ้มซึ่งได้รับอิทธิพลจากกูฑุของอินเดียเป็นต้น