ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 745 ถึง 752 จาก 941 รายการ, 118 หน้า
พญามารจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมพญามารจากปราสาทดงเดือง

พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 โปรดให้สถาปนางัดลักษมีนทรโลเกศวรขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพุทธศาสนามหายาน ปัจจุบันวัดแห่งนี้ได้แก่ปราสาทดงเดืองซึ่งถือเป็นพุทธสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในศิลปะจาม

ทวารบาลจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมทวารบาลจากปราสาทดงเดือง

ที่โคปุระของปราสาทมีทวารบาลประดิษฐานอยู่ ทวารบาลดังกล่าวแสดงท่าทางข่มขู่ ยกมือเงื้ออาวุธจะทำร้ายและมีหน้าตาดุร้าย ขาทั้งสองข้างยืนเหยียบอสูรดุร้ายอยู่ ท่าทางที่แสดงความดุร้ายข่มขู่เช่นนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของทวารบาลแบบจีน ในขณะเดียวกันการแต่งตัวของประติมากรรมกลับแสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดือง อย่างมาก ทั้งในด้านมงกุฎซึ่งประดับด้วยตาบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ และการเปลือยท่อนบนและทรงผ้านุ่งก็ล้วนแต่แสดงความเป็นพื้นเมืองจาม

ทวารบาลจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมทวารบาลจากปราสาทดงเดือง

ที่โคปุระของปราสาทมีทวารบาลประดิษฐานอยู่ ทวารบาลดังกล่าวแสดงท่าทางข่มขู่ ยกมือเงื้ออาวุธจะทำร้ายและมีหน้าตาดุร้าย ขาทั้งสองข้างยืนเหยียบอสูรดุร้ายอยู่ ท่าทางที่แสดงความดุร้ายข่มขู่เช่นนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของทวารบาลแบบจีน ในขณะเดียวกันการแต่งตัวของประติมากรรมกลับแสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดือง อย่างมาก ทั้งในด้านมงกุฎซึ่งประดับด้วยตาบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ และการเปลือยท่อนบนและทรงผ้านุ่งก็ล้วนแต่แสดงความเป็นพื้นเมืองจาม

นางปรัชญาปารมิตาจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมนางปรัชญาปารมิตาจากปราสาทดงเดือง

เป็นประติมากรรมที่แสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดืองอย่างมาก กล่าวคือ มีพระเกศาหยิก พระขนงตอเป็นปีกกา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่ นุ่งผ้าสองชั้น คือผ้าหน้านางผืนในแล้วใช้ผ้าคลุมด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง ผ้านุ่งหน้านางนี้ถือเป็นลักษณะที่นิยมอย่างมากในศิลปะดงเดือง

พระวิษณุทรงครุฑ
ญาจาง
ประติมากรรมพระวิษณุทรงครุฑ

พระวิษณุทรงครุฑองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยปรากฏกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา แต่ตาบเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ตามแบบดงเดือง พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้มีพระโอษฐ์หนา พระเนตรโปนและมีพระมัสสุตามแบบพื้นเมือง ครุฑที่มีจะงอยปากนกและสวมมงกุฎสามตาบก็เป็นลักษณะดงเดืองเช่นกัน

ทวารบาลหน้าตาดุร้าย
ดานัง
ประติมากรรมทวารบาลหน้าตาดุร้าย

ทวารบาลองค์นี้เป็นประติมากรรมที่แสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดืองอย่างมาก กล่าวคือ มีพระขนงตอเป็นปีกกา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่ มีพระมัสสุ หน้าตาที่ดุร้ายของประติมากรมเชนนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าคงเคยเป็นทวารบาลมาก่อน มงกุฎซึ่งประดับด้วยตาบรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่จำนวนสามตาบนี้ถือเป็นลักษณะที่นิยมอย่างมากในศิลปะดงเดือง

ซุ้มกาลมกร
โฮจิมินห์
ประติมากรรมซุ้มกาลมกร

เนื่องด้วยอิทธิพลแบบอินเดียชวาได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในศิลปะมิเซิน A1 ด้วยเหตุนี้ ลวดลายหน้ากาล-มกรซึ่งนิยมใช้ประดับซุ้มกูฑุในศิลปะชวาจึงได้เข้ามามีบทบาทใหม่หลังจากที่ได้เสื่อมความนิยมไปแล้วก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ซุ้มกาลมกรในศิลปะมิเซิน A1 กลับมีลักษรเฉพาะตัว คือ มกรมักโผล่ออกมาจากด้านข้างหูของหน้ากาล นอกจากนี้ยังคายเลียงผาออกมาทั้งสองข้าง

ฐานรูปนางอัปสรเต้นรำและนักดนตรี
ดานัง
ประติมากรรมฐานรูปนางอัปสรเต้นรำและนักดนตรี

เนื่องด้วยอิทธิพลแบบอินเดียชวาได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในศิลปะมิเซิน A1 ด้วยเหตุนี้ ประติมากรรมบุคคลในศิลปะมิเซิน A1 จึงมีลักษณะอ่อนช้อย พระพักตร์มีพระเนตรไม่โปน ไม่มีพระมัสสุ พระโอษฐ์บางตามแบบอินเดียชวา การทรงผ้าคาดวงโค้งเองก็เป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะอินเดียและชวามาก่อน