ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องตอนกามเทพแผลงศร
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปกามเทพแผลงศรใส่พระศิวะ
ประติมากรรมหน้าบันสลักภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์
ประติมากรรมทับหลังสลักภาพเล่าเรื่องนารายณ์บรรทมสินธุ์
ทับหลังในศิลปะนครวัด สืบรูปแบบมาจากศิลปะแบบบาปวน คือ ท่อนพวงมาลัยบริเวณกลางทับหลังจะอ่อนโค้งมาด้านล่าง รวมถึงมีการแบ่งเสี้ยวที่ท่อนพวงมาลัย แต่ที่แตกต่างออกไปคือการแทรกภาพเล่าเรื่องลงไปในทับหลัง
ประติมากรรมภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน
ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศตะวันตกสลักเป็นภาพเล่าเรื่องมหาภารตะลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นอนอยู่บนเตียงลูกศร ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด
ประติมากรรมนางอัปสร
ศิลปกรรม นางอัปสรที่สลักอยู่บนผนัง มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม ทรงกระบังหน้า ด้านบนมีศิราภรณ์ประดับด้วยช่อดอกไม้ 3 แถว กุณฑลเป็นพู่ห้อยขนาดใหญ่ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นถือดอกไม้ ทรงผ้านุ่งยาว มีชายผ้าผาดข้อพระกรขวาเป็นชายผ้ารูปสามเหลี่ยมทับซ้อนกัน ส่วนทางด้านซ้ายมีชายผ้ารูปสามเหลี่ยมชักออกมายาวจรดพื้น ทรงเข็มขัดเป็นแผงขนาดใหญ่ประดับพู่ห้อยโดยรอบ
ประติมากรรมภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2
ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศใต้สลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2ลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นั่งอยู่บนบัลลังก์ยกสูงในท่านั่งมหาราชลี ด้านหลังมีฉัตร และเครื่องสูงเต็มฉากหลัง ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด
ประติมากรรมเสาติดผนังและเสาประดับกรอบประตู
เสาประดับกรอบประตูเป็นเสาแปดเหลี่ยมสืบมาจากสมัยพระนครตอนต้น มีการทำลวดลายใบไม้สามเหลี่ยมที่มีขนาดเล็กเรียงต่อกันเหมือนฟันปลา จึงทำให้ด้านแต่ละด้านของเสามีมากกว่า1ใบ ส่วนเสาติดผนัง ปรากฏการทำลายก้านขด และก้านต่อดอก เต็มพื้นที่ลายกลางเสา อีกทั้งยังปรากฏการแทรกภาพเล่าเรื่องลงไปในตัวเสาอีกด้วย เช่น ภาพพระศิวะ
ประติมากรรมภาพสลัก เล่าเรื่องกองทัพพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ภาพสลักเป็นภาพสลักนูนต่ำ มีสลักภาพเต็มพื้นที่ของผนัง ประติมากรรมบุคคลมีพระพักตร์ตามแบบศิลปะบายน คือ หลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย ไม่สวมเสื้อ มีแต่ผ้านุ่งซึ่งเป็นลักษณะของขบวนของคนทั่วไปไม่ใช่ทหาร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกองเสบียง