ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

หน้าบันสลักภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์

คำสำคัญ : ทับหลัง, นครวัด, ฮินดู, สูริยวรมันที่ 2, รามายณะ, พระราม

ชื่อหลักปราสาทนครวัด
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
จังหวัด/เมืองอังกอร์
รัฐ/แขวงเสียมเรียบ
ประเทศกัมพูชา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.412222
Long : 103.866389

ประวัติการสร้างปราสาทนครวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 ในปี พ.ศ. 1656ภายหลังที่พระองค์ปราบดาภิเษก โดยเอาชนะพระปิตุลาคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 ที่ครองราชอยู่ที่เมืองมหิทรปุระ
ลักษณะทางศิลปกรรมหน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะนครวัด
อายุพุทธศตวรรษที่ 17
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์ ในภาพสลักเป็นตอนที่พระลักษณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ พญายักษ์ที่เป็นอนุชาของทศกัณฐ์ ซึ่งพระรามและเหล่าขุนพลต่างหาวิธีที่จะถอนหอกโมกขศักดิ์ออกจากพระลักษณ์
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องประติมากรรมในภาพ บุคคลที่กำลังถอนหอก น่าจะหมายถึงพระราม ส่วนบุคคลที่ต้องหอกน่าจะหมายถึงพระลักษณ์ ด้านข้างของพระรามเป็นบุคคลหน้าตาเป็นยักษ์นั่งอยู่น่าจะหมายถึงพิเภก

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี