ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 97 ถึง 104 จาก 107 รายการ, 14 หน้า
ครุฑแบกที่ฐานอาคารพระราชวังหลวง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐานอาคารพระราชวังหลวง

ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐาน ปรากฏเป็นครุฑที่มีเศียรเป็นนก อยู่ในท่ายืนเหยียบอยู่บนเศียรนาค แล้วยกแขนยึดนาคไว้ ลักษณะของการทำประติมากรรมครุฑดังกล่าว เป็นรูปแบบของการทำประติมากรรมครุฑในศิลปะบายน

ภาพสลักเมืองบาดาลที่ฐานพระราชวังหลวง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมภาพสลักเมืองบาดาลที่ฐานพระราชวังหลวง

ด้านล่างของฐานปรากฏการทำประติมากรรมสลักหินทราย เทวดา นางอัปสร อสูร นาค และพระยม โดยแบ่งเป็นชั้น ตรงกลางด้านล่างของแนวฐานจะปรากฏนาคหลายเศียรอยู่เสมอ รูปแบบประติมากรรมสตรี จะสวมกระบัง ด้านบนมีศิราภรณ์ประดับด้วยช่อดอกไม้ 3 แถว กุณฑลเป็นพู่ห้อยขนาดใหญ่ พระพักตร์แบบบายน กล่าวคือหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย

นางอัปสร
เสียมเรียบ
ประติมากรรมนางอัปสร

นางอัปสรที่สลักอยู่บนผนัง มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระพักตร์แบบศิลปะบายน กล่าวคือ หลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย ทรงกระบังหน้า ด้านบนมีศิราภรณ์ประดับด้วยช่อดอกไม้ 3 แถว กุณฑลเป็นพู่ห้อยขนาดใหญ่ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นถือดอกไม้ ทรงผ้านุ่งยาว ด้านข้างผ้านุ่งทั้งสองด้านมีชายผ้ารูปสามเหลี่ยมคล้ายกับหางปลา ชักออกมายาวจรดพื้น ทรงเข็มขัดเป็นแผงขนาดใหญ่ประดับพู่ห้อยโดยรอบ

ม้าพลาหะ
อังกอร์
ประติมากรรมม้าพลาหะ

ม้าพลาหะ เป็นประติมากรรมรูปม้าขนาดใหญ่ หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน ที่ประติมากรรมม้าพลาหะ ปรากฏการสลักประติมากรรมบุคคลโดยรอบ

พระอวโลกิเตศวร
อังกอร์
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร

ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร พระเศียรหักหายไป เปลือยกายท่อนบน พระวรกายหนา สวมเครื่องทรง ได้แก่ กรองศอเป็นลักษณะเป็นสร้อยคอแผงมีอุบะพู่ห้อยโดยรอบ นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นในอัตพลีต มีชายผ้าหางปลาตกลงมาตรงกลางชายเดียว เป็นรูปแบบของศิลปะบายน รายล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาและพระโพธิสัตว์

ท่อน้ำ สลักรูปเศียรมนุษย์
อังกอร์
ประติมากรรมท่อน้ำ สลักรูปเศียรมนุษย์

ประติมากรรมรูปเศียรมนุษย์นั้น ปรากฏอยู่ซุ้มทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทนาคพัน เป็นรูปเศียรบุคคล สวมกระบังหน้ายอดมงกุฏทรงกรวย อยู่ในท่าอ้าพระโอษฐ์ซึ่งเป็นส่วนของท่อน้ำ

อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี
ประติมากรรมอวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี

พระอวโลกิเตศวรทำผมทรงชฏามกุฏ สัญลักษณ์ของนักบวช ทรงมีพระอมิตาภะอยู่ที่ชฎามกุฏ พระพักตร์แบบบายน โดยหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย พระวรกายมีการสลักพระพุทธเจ้าทั่วทั้งวรกาย นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นใน สันนิษฐานว่าอาจเคยมีการถวายผ้าทรงและเครื่องประดับจริง

พระมหามัยมุนี
มัณฑเลย์
ประติมากรรมพระมหามัยมุนี

พระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะยะไข่ มักเปลือยพระวรกายท่อนบน นั่งขัดสมาธิราบตามแบบอินเดียใต้แต่แสดงปางมารวิชัยตามแบบอินเดียเหนือ ต่อมาพระเจ้าปดุงและกษัตริย์รุ่นหลังได้ถวายเครื่องทรงแก่พระพุทธรูปองค์นี้ โดยถวายมงกุฎแหลมสูงและสังวาลตัดเป็นกากบาท มีตาบอก อันเป็นเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยา ต้องไม่ลืมว่าช่างชาวอยุธยาได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่เมือง