ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมกู่พระเจ้าติโลกราช
เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเดียว ฐานเขียงด้านล่าง 2 ฐานรองรับฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น ต่อด้วยเรือนธาตุที่มีจระนำซุ้มทั้ง 4 ด้าน เสามีการประดับลายกาบบน กาบล่าง ถัดขึ้นเป็นหลังคาลาด 1 ชัด ต่อด้วยฐานเขียง ชุดฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น 3 ฐานในผังกลมรองรับองค์ระฆัวกลม บัลลังก์ ก้อนฉัตร ปล้องไฉนและปลียอด
ประติมากรรมแผ่นเงินดุนนูน
แผ่นเงินจำนวนทั้งสิ้น 66 แผ่น ดุนนูนเป็นรูปต่างๆ ได้แก่ พระพุทธรูป สถูป เทวดา และธรรมจักร แต่ละแผ่นไม่ซ้ำแบบกัน
สถาปัตยกรรมเจดีย์ชเวมอดอ
เจดีย์มอญมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือ แผนผังเป็นแปดเหลี่ยมเพิ่มมุม ฐานลาดเอียง ไม่มีบันไดขึ้นและลานประทักษิณด้านบน รวมถึงสถูปิกะมักประดับอยู่ด้านล่างเสมอ และมีปลีที่ยืดยาวเหมือนปลีกล้วย ทั้งหมดนี้แตกต่างไปจากเจดีย์แบบพม่าแท้ทุกประการ เจดีย์องค์นี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดภายหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ศิลปกรรมของเจดีย์องค์นี้จึงเป็นสมัยปัจจุบันซึ่งมีสัดส่วนไม่งดงามเท่าเจดีย์องค์เดิม
สถาปัตยกรรมมหาเจดีย์
เจดีย์ประกอบด้วยฐานในผังแปดเหลี่ยมเพิ่มมุม เป็นฐานลาดตามแบบมอญ แต่กลับมีบันไดขึ้นและมีทางประทักษิณด้านบนตามแบบพม่า ถัดขึ้นไปได้แก่ฐานเขียงในผังกลมจำนวนมากตามแบบมอญ รองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นของซ่อมใหม่สมัยปัจจุบัน การที่เจดีย์องค์นี้มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะมอญและศิลปะพม่านั้น สอดรับกับประวัติศาสตร์ของพม่าในระยะนั้นที่ราชวงศ์ตองอูของพม่าได้ยกทัพลงมายึดครองเมืองหงสาวดีของชาวมอญ จึงทำให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างเจดีย์สองแบบ
สถาปัตยกรรมรูปจำลองของเจดีย์มินกุน
เนื่องจากเจดีย์เมืองมินกุนองค์จริงสร้างไม่สำเร็จ เราจำเป็นต้องศึกษาภาพเต็มของเจดีย์องค์นี้จากรูปจำลองซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากเจดีย์องค์จริง เจดีย์จำลององค์นี้ปรากฏยอดศิขระและยอดเจดีย์บนยอดของเรือนธาตุซึ่งแสดงให้เห็นว่า เจดีย์องค์จริงอาจตั้งใจที่จะมียอดศิขระเช่นกัน
สถาปัตยกรรมฐานกลมและสถูปที่บุโรพุทโธ
ฐานกลมด้านบนสุด เป็นฐานเขียงซึ่งไม่มีภาพสลักใดๆ อันบ่งบอกถึงความเป็น “อรูปภูมิ” ประกบด้วยสถูปโปร่งจำนวนมากซึ่งภายในประดิษฐานพระธยานิพุทธไวโรจนะแสดงปางปฐมเทศนา ประเด็นนี้ย่อมแสดงให้เห็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างความมีรูปกับความไม่มีรูป ด้านบนสุดปรากฏสถูปทึบเพียงองค์เดียว นั่นคอตัวแทนของพระอิพุทธ พระเทธเจ้าองค์แรกของจักรวาล ผู้เป็นอมตะ ไม่มีกาลเวลา เป็นผู้กำเนินพระพุทธเจ้าทั้งมวลในจักรวาลและเป็นผู้สร้างโลก ทรงไม่มีรูป
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดสีเมือง
ธาตุวัดสีเมือง เป็นธาตุที่สร้างด้วยศิลาแลงซึ่งแตกต่างไปจากธาตุที่สร้างด้วยอิฐในระยะร่วมสมัย เท่าที่เหลืออยู่ปรากฏเป็นฐานบัวที่มีบัวคว่ำและท้องไม้ขนาดใหญ่ที่คาดด้วยลูกแก้วอกไก่ ธาตุองค์นี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอม อย่างไรก็ตาม ขนาดของศิลาแลงที่เล็กกว่าขอมมากและการใช้ลูกแก้วอกไก่คาดกลางท้องไม้ย่อมแสดงว่าธาตุองค์นี้ไม่ใช่ศิลปะขอมอย่างแน่นอน
สถาปัตยกรรมธาตุวัดแสน
เจดีย์องค์นี้มีลักษณะเป็นเจดีย์แบบล้านช้างอย่างแท้จริง กล่าวคือ ประกอบด้วยฐานบัวเข่าพรหมที่มีกาบเท้าสิงห์เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน อันสืบมาจากฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลาง ลวดบัวของฐานลดหน้ากระดานบนทิ้ง โนกำหนดให้บัวหงายกับบัวคว่ำประกบกันและตวัดงอนขึ้นเพื่อให้เส้นรอบนอกของฐานมีความลื่นไหลต่อเนื่อง ส่วนกลางเป็นบัวเหลี่ยมที่มีเส้นรอบนอกที่ลื่นไหลเช่นกัน บัวเหลี่ยมนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์หรือธาตุในศิลปะล้านช้าง ปรากฏทั้งในสกุลช่างหลวงพระบางและเวียงจันทน์