ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ธาตุวัดแสน

คำสำคัญ : พระธาตุ, ศิลปะลาว, บัวเหลี่ยม, วัดแสน, พระเจ้ากิ่งกิสราช

ชื่อเรียกอื่น-
ชื่อหลักวัดแสน
ชื่ออื่น-
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองหลวงพระบาง
รัฐ/แขวงหลวงพระบาง
ประเทศลาว
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 19.895278
Long : 103.141667

ประวัติการสร้างวัดแสน สร้างโดยพระเจ้ากิ่งกิสราช กษัตริย์องค์แรกที่สถาปนาอาณาจักรหลวงพระบางแยกออกมาจากอาณาจักรเวียงจันทน์ในพุทธศตวรรษที่ 23
ลักษณะทางศิลปกรรมเจดีย์องค์นี้มีลักษณะเป็นเจดีย์แบบล้านช้างอย่างแท้จริง กล่าวคือ ประกอบด้วยฐานบัวเข่าพรหมที่มีกาบเท้าสิงห์เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน อันสืบมาจากฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลาง ลวดบัวของฐานลดหน้ากระดานบนทิ้ง โนกำหนดให้บัวหงายกับบัวคว่ำประกบกันและตวัดงอนขึ้นเพื่อให้เส้นรอบนอกของฐานมีความลื่นไหลต่อเนื่อง ส่วนกลางเป็นบัวเหลี่ยมที่มีเส้นรอบนอกที่ลื่นไหลเช่นกัน บัวเหลี่ยมนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์หรือธาตุในศิลปะล้านช้าง ปรากฏทั้งในสกุลช่างหลวงพระบางและเวียงจันทน์
สกุลช่างหลวงพระบาง
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านช้าง
อายุพุทธศตวรรษที่ 23
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง-
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง-

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี