ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 18 รายการ, 3 หน้า
อาคารยาวมีหน้าจั่วสามเหลี่ยม ปราสาทเกาะแกร์
เกาะแกร์
สถาปัตยกรรมอาคารยาวมีหน้าจั่วสามเหลี่ยม ปราสาทเกาะแกร์

อาคารยาวๆของปราสาทเกาะแกร์ สร้างด้วยหินทั้งหลังแต่คงเคยมีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้าประกอบด้วยหน้าจั่วสามเหลี่ยมซึ่งเลียนแบบมาจากอาคารเครื่องไม้ ที่น่าสนใจก็คือ ที่ปลายหน้าจั่วมีลายตกแต่งเป็นรูปขมวดม้วน ซึ่งอาจกลายมาจากงวงของมกรก็ได้ หน้าจั่วเช่นนี้จะปรากฏอีกกับปราสาทในศิลปะบันทายสรีและบาปวนบางหลัง เช่นปราสาทบันทายสรี ปราสาทพระวิหาร เป็นต้น อนึ่ง น่าสังเกต “รู” ที่หน้าบันซึ่งเคยเป็นเต้ารับแปของเครื่องไม้ซึ่งได้หายไปหมดสิ้นแล้ว

ซุ้มของปราสาทบาญอิ๊ด
บิญดิ่น
สถาปัตยกรรมซุ้มของปราสาทบาญอิ๊ด

ปราสาทประธานประดับด้วยซุ้มทรงใบหอก มีการสลักลวดลายบนอิฐจนเต็ม ด้านบนสุดปรากฏหน้ากาล ซุ้มทรงใบหอกนี้แสดงรูปแบบซุ้มในศิลปะบิญดิ่นแล้ว อย่างไรก็ตราม การสลักลวดลายจนเต็มพื้นที่นั้นเป็นลักษณะพิเศษของซุ้มที่นี่ การปรากฏหน้ากาลด้านบนยังแสดงให้เห็นร่องรอยอิทธิพลชวาที่ส่งผ่านจากศิลปะมิเซิน A1 มาสู่ศิลปะบิญดิ่น

ซุ้มของปราสาทหัวล่าย
ญาจาง
สถาปัตยกรรมซุ้มของปราสาทหัวล่าย

ซุ้มของปราสาทหัวล่าย เป็นซุ้มรูปพิณฝรั่งคว่ำ ครอบคลุมด้วยลายขนมจีนจนเต็ม มีลายขมวดเข้าพร้อมขมวดออก ไม่มีรูปสัตว์ใดๆ แทรกอยู่ในซุ้ม ทั้งหมดนี้แสดง “ความเป็นพื้นเมือง” ของซุ้มในสมัยหัวล่ายที่แตกต่างไปจากกูฑุแบบอินเดียในศิลปะมิเซิน E1 แล้ว

จิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

หน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
ประติมากรรมหน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E

ซุ้มของปราสาทมิเซินกลุ่ม E นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน กึ่งกลางปรากฏภาพเล่าเรื่องตอนวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือพระวิษณุบรรทมกลางเกษียรสมุทรและมีพระพรหมผุดขึ้นมาจากพระนาภี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู

หน้าบันรูปพระวิษณุ
ดานัง
ประติมากรรมหน้าบันรูปพระวิษณุ

พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีสี่พระกร ถือจักร สังข์ คทาและธรณี ทรงกิรีฏมกุฏหรือหมวกทรงกระบอกอันแสดงฐานะความเป็นกษัตริย์ของพระองค์ อาจเป็นไปได้ที่หน้าบันย่อมแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระวิษณุ ซึ่งพบน้อนกว่าปราสาทที่สร้างอุทิศให้กับพระศิวะมาก

หน้าบันรูปครุฑและนาค
โฮจิมินห์
ประติมากรรมหน้าบันรูปครุฑและนาค

พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีพาหนะที่สำคัญคือครุฑและนาค ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าบันทั้งสองตัว ครุฑเป็นพาหนะของพระวิษณุในคราวเสด็จไปในที่ต่างๆ ส่วนนาคเป็นบัลลังก์บรรทมของพระองค์บนเกษียรสมุทร

หน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร
ญาจาง
ประติมากรรมหน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปของพระภควตี ภาคหนึ่งของพระอุมา เป็นเทพีประจำอาณาจักรจามปาภาคใต้ โดยมีประวัติมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ว่า มีการสถาปนาปราสาทถวายแด่เทวรูปพระภควตีมาตั้งแต่สมัยหัวล่าย ต่อมาถูกองทัพขอมข้าทำลายในพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้มีการสร้างปราสาทหลังใหม่ในสมัยบิญดิ่นตอนต้น ซึ่งก็คือปราสาทหลังปัจจุบัน