ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 18 รายการ, 3 หน้า
พระบฏวัดดอกเงิน
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมพระบฏวัดดอกเงิน

พระบฏผืนนี้เขียนเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่เมืองสังกัสสะ สีที่ใช้มีหลายสี เช่น สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว สีดินเหลืองและสีดำ ปิดทองเฉพาะองค์พระพุทธเจ้า ภาพแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ช่วงบนสุดเป็นภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แสดงภาพเทวดาประคองอัญชลี มีต้นปาริชาติ เจดีย์จุฬามณี และวิมาน 2 หลังคือเวชยันต์ปราสาทและสุธรรมเทวสภา ชั้นที่สองเป็นภาพพระพุทธเจ้าขนาดใหญ่อิริยาบถลีลาลงจากบันไดแก้ว มีพระอาทิตย์และพระจันทร์ขนาบสองข้างพระเศียร ด้านซ้ายแสดงภาพเทวดาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เสด็จลงบันไดเงิน ด้านขวาแสดงภาพพรหมเสด็จลงบันไดทอง ขอบทั้งสองด้านแสดงภาพเทวดาชั้นรองถือเครื่องสักการะเหาะตามมา ชั้นที่สามแสดงภาพเมืองสังกัสสะ ฝั่งขวาคือแถวพระสงฆ์ ฝั่งซ้ายคือกลุ่มกษัตริย์ยืนรอรับเสด็จ และยังมีภาพบุคคลอื่นๆ เช่น พราหมณ์ ขุนนางประคองอัญชลีและมีภาพปราสาท ด้านล่างสุดเป็นภาพน้ำ มีมนุษยนาคประคองอัญชลี ฉากหลังเป็นดอกมณฑารพ มีจารึกอักษรฝักขามตามตำแหน่งต่างๆ

ใบเสมา
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมใบเสมา

ใบเสมาแบบแผ่นแบน ชำรุดเสียหายมาก แต่ยังเห็นภาพสลักเรื่องได้ชัดเจน พระพุทธองค์ยืน พระหัตถ์ทำปางแสดงธรรมทั้ง 2 ข้าง พระพักตร์เหลี่ยม พระเนตรเหลือบต่ำและโปนใหญ่ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์แบะกว้างพระพุทธองค์ครองจีวรห่มคลุม ชายจีวรด้านหน้าพาดผ่านพระชานุเป็นรูปโค้ง ขณะที่ชายจีวรด้านหลังตกลงมาเป็นกรอบสี่เหลี่ยมยาวจนถึงข้อพระบาท สบงยาวจรดข้อพระบาทเช่นกันเบื้องซ้ายของพระองค์มีภาพบุคคลขนาดเล็กสวมเครื่องทรงดังเทวดายืนเคียงข้าง ถัดขึ้นไปมีเทวดาประนมกรแทรกกายอยู่หลังเมฆ จากภาพถ่ายเก่าทำให้เห็นว่าภาพทางเบื้องขวาของพระองค์มีการจัดวางองค์ประกอบแบบนี้เช่นกัน แต่ปัจจุบันได้ชำรุดสูญหายแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นพุทธประวัติตอนใด แต่นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเล่าพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะมีเทวดาขนาบอยู่ 2 ข้าง

ใบเสมา
ขอนแก่น
ประติมากรรมใบเสมา

ใบเสมาแผ่นแบน ยอดแหลม สลักลายกลีบบัวที่ด้านล่าง ด้านหน้าเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขสัปดาห์ที่ 6 หรือตอนาคปรก ส่วนบนสลักภาพพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิแบบหลวมอยู่เหนือขนดนาคที่ซ้อนกัน 4 ชั้น พระหัตถ์ทำปางแสดงธรรม เหนือพระเศียรมีหัวนาค 5 หัวปรกอยู่ เบื้องหลังเป็นต้นไม้ซึ่งคงหมายถึงต้นมุจลินท์หรือต้นจิก เบื้องล่างทางด้านซ้ายของพระองค์ปรากฏภาพบุคคลสวมเครื่องทรงมากนั่งทำท่านอบน้อม อาจหมายถึงพระยานาคมุจลินท์ที่แปลงกายเป็นมนุษย์มาเฝ้าพระองค์ อีกบุคคลหนึ่งทางด้านขวาของพระองค์ทำท่าประนมกร คงหมายถึงผู้ติดตาม

พุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ปาโททัมยา
พุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ปาโททัมยา

จิตรกรรมใช้สีโทนร้อน เช่น สีแดง สีเหลือง สีดำ ตามอย่างศิลปะปาละ เครื่องแต่งกายของบุคคลในจิตรกรรมเองก็เกี่ยวข้องกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงเทริดขนนกของกษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ลักษณะพื้นเมืองพุกามได้ปรากฏปะปนด้วย เช่น การทรงผ้าคลุมที่มีลวดลายเต็มของกษัตริย์ รวมถึงรูปแบบอาคารที่ดูเหมือนปยาทาด เป็นต้น

ส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
พุกาม
จิตรกรรมส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน

ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ ทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับภาพวาดในคัมภีร์ใบลานซึ่งพบทั้งในอินเดียตะวันออกและในพม่าด้วย

ส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
พุกาม
จิตรกรรมส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน

ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ ทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับภาพวาดในคัมภีร์ใบลานซึ่งพบทั้งในอินเดียตะวันออกและในพม่าด้วย

เขาพระสุเมรุ จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
พุกาม
จิตรกรรมเขาพระสุเมรุ จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน

ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ

พุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปเย
พุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปเย

จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปยี เป็นตัวอย่างของจิตรกรรมในศิลปะพุกามตอนปลายที่มักเขียนภาพบุคคลขนาดใหญ่ พระพักตร์แสดงการ “ก้มลง” อย่างชัดเจน พื้นที่ว่างถูกถมไปด้วย “ลวดลายกนก” จำนวนมาก ทั้งหมดนี้แตกต่างไปจากศิลปะพุกามตอนต้น อย่างไรก็ตาม ขนบหลายประการ เช่นการเน้นสีโทนร้อน การเขียนต้นไม้แบบประดิษฐ์นั้นก็ยังคงดำเนินตามขนบปาละอยู่