ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
คำสำคัญ : พระพุทธเจ้า, พุทธประวัติ, พุกาม, เจดีย์โลกาเทียกพัน
ชื่อหลัก | เจดีย์โลกาเทียกพัน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | พุกาม |
รัฐ/แขวง | มัณฑเลย์ |
ประเทศ | เมียนมา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 21.165 Long : 94.865278 |
ประวัติการสร้าง | เจดีย์โลกาเทียกพัน เป็นเจดีย์ขนาดเล็กไม่ไกลจากเจดีย์ชเวซานดอมากนัก ไม่มีประวัติว่าผู้ใดสร้างหรือสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากรูปแบบสถาปัตยกรรมแล้ว คอนข้างแน่ชัดว่าเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพุกามตอนกลาง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ ทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับภาพวาดในคัมภีร์ใบลานซึ่งพบทั้งในอินเดียตะวันออกและในพม่าด้วย |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | พุกาม |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 17 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน เป็นตัวอย่างการประสานกันทางประติมานวิทยาระหว่างประติมากรรมและจิตรกรรมได้ดีที่สุด เนืองจากทั้งประติมากรรม (พระพุทธรูปองค์กลาง – แทนตอนตรัสรู้) กับจิตรกรรม (พุทธประวัติอื่นๆอีก 7 ตอน) ได้ถูกออกแบบให้แสดงภาพอัษฏมหาปาฏิหาริย์ (พุทธประวัติที่สำคัญแปดตอน) ทั้งหมดนี้แสดงการจำลองจากประติมกรรม “อัษฏมหาปาฏิหาริย์”.ซึ่งนิยมในศิลปะปาละมาก่อน และแสดงให้เห็นว่าสถานที่สำคัญฯทั้งแปดนี้คงเคยเป็นสถานที่แสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ละเป็นที่นิยมของผู้แสวงบุญ |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | จากภาพที่เห็น เป็นพุทธประวัติสามตอน อันได้แก่ ตอนปราบช้างนาฬาคีรี (ด้านบน) ตอนแสดงปฐมเทศนา (กลาง) และตอนรับบาตรจากพญาวานร (ด้านล่าง) ประติมานวิทยาของภาพทั้งสามนี้เลียนแบบมาจากประติมานวิทยาปาละ อย่างไรก็ตาม ประติมานวิทยาแบบพื้นเมืองก็ได้ปรากฏปะปนอยู่บ้าง เช่น การซ้อนกันของช้างนาฬาคีรีสองตัวในกรณีของตอนปราบช้างฯ เป็นต้น ด้านบสุดของภาพปรากฏกองทัพมารซึ่งคงประกอบเป็นส่วนหนึ่งของตอนมารวิชัย |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |