ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมเจดีย์โลกานันท์
เจดีย์ประกอบด้วยฐานในผังแปดเหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนสามชั้น แต่ละชั้นประดับช่องที่ท้องไม้และมีทางประทักษิณพร้อมบันไดขึ้นทุกด้าน องค์ระฆังประดับด้วยรัดอกและบัวคอเสื้อตามแบบเจดีย์พม่าโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม การยืดสูงขององค์ระฆังทำให้สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเจดีย์องค์นี้อยู่ในกลุ่มอิทธิพลปยู เจดีย์ไม่มีบัลลังก์ มีปล้องไฉนทรงกรวยเตี้ย ปัทมบาทและปลีสั้นซึ่งทั้งหมดนี้เป็นลักษณะร่วมกันของเจดีย์แบบพม่าแท้และเจดีย์กลุ่มอิทธิพลปยู เจดีย์แบบปยู ถือเป็นเจดีย์รุ่นเก่าที่สืบทอดมาตั้งแต่ก่อนรัชกาลพระเจ้าอโนรธาเรื่อยมาจนถึงรัชกาลดังกล่าว โยในรัชกาลนี้เจดีย์แบบปยูเริ่มใช้ฐานระบบพม่าแท้ตามอิทธิพลของเจดีย์ชเวซิกอง
จิตรกรรมพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
เจดีย์โลกาเทียกพัน เป็นเจดีย์ขนาดเล็กไม่ไกลจากเจดีย์ชเวซานดอมากนัก ไม่มีประวัติว่าผู้ใดสร้างหรือสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากรูปแบบสถาปัตยกรรมแล้ว คอนข้างแน่ชัดว่าเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพุกามตอนกลาง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17
จิตรกรรมส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ ทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับภาพวาดในคัมภีร์ใบลานซึ่งพบทั้งในอินเดียตะวันออกและในพม่าด้วย
จิตรกรรมส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ ทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับภาพวาดในคัมภีร์ใบลานซึ่งพบทั้งในอินเดียตะวันออกและในพม่าด้วย
จิตรกรรมเขาพระสุเมรุ จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ
จิตรกรรมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ปยาทาดหรือปราสาทที่มีหลังคาลาดซ้อนกันหลายชั้นกลับเป็นลักษณะเฉพาะของพุกามเอง ปยาทาดนี้เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นอาคารเครื่องไม้ในสมัยพุกามซึ่งปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว
จิตรกรรมพระพุทธบาทบนเพดาน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ