ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 4 จาก 4 รายการ, 1 หน้า
พระไภษัชยคุรุ
ขอนแก่น
ประติมากรรมพระไภษัชยคุรุ

ประติมากรรมอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานที่ประดับลายกลีบบัว พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระขนงทั้งสองข้างคมเป็นสันและเชื่อมต่อกัน พระเนตรเบิกโพรง แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย สวมมงกุฎอันประกอบด้วยกระบังหน้าและรัดเกล้ากรวยซ้อนชั้น สวมกุณฑลทรงตุ้มแหลม พระกรกายช่วงบนเปล่าเปลือย พระหัตถ์แต่ละข้างถือวัชระโดยวางซ้อนกันบริเวณพระอุทร

ใบเสมา
ขอนแก่น
ประติมากรรมใบเสมา

ใบเสมาแผ่นแบน ยอดแหลม สลักลายกลีบบัวที่ด้านล่าง ด้านหน้าเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขสัปดาห์ที่ 6 หรือตอนาคปรก ส่วนบนสลักภาพพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิแบบหลวมอยู่เหนือขนดนาคที่ซ้อนกัน 4 ชั้น พระหัตถ์ทำปางแสดงธรรม เหนือพระเศียรมีหัวนาค 5 หัวปรกอยู่ เบื้องหลังเป็นต้นไม้ซึ่งคงหมายถึงต้นมุจลินท์หรือต้นจิก เบื้องล่างทางด้านซ้ายของพระองค์ปรากฏภาพบุคคลสวมเครื่องทรงมากนั่งทำท่านอบน้อม อาจหมายถึงพระยานาคมุจลินท์ที่แปลงกายเป็นมนุษย์มาเฝ้าพระองค์ อีกบุคคลหนึ่งทางด้านขวาของพระองค์ทำท่าประนมกร คงหมายถึงผู้ติดตาม

ใบเสมา
ขอนแก่น
ประติมากรรมใบเสมา

ใบเสมาแผ่นแบนมียอดแหลม สลักภาพเล่าเรื่องอยู่ทางด้านหน้า เป็นภาพพระอินทร์พร้อมด้วยชายาและช้างเอราวัณ พระอินทร์นั่งในท่าลลิตาสนะอยู่ตรงกลาง ถือวัชระไว้ในพระหัตถ์ซ้าย ต้นไมทางเบื้องหลังสันนิษฐานว่าเป็นต้นปาริชาติ อันเป็นต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นสวรรค์ของพระอินทร์ เบื้องซ้ายของพระองค์มีภาพบุคคล 3 คน และนก 1 ตัว เป็นภาพชายาทั้ง 4 ของพระอินทร์ ได้แก่ สุธรรมา สุจิตรา สุนันทา และสุชาดาซึ่งกลับมาเกิดเป็นนกยาง เพราะไม่ได้สั่งสมบุญไว้เพียงพอ ด้านหลังของกลุ่มชายาเป็นลวดลายกนกแบบทวารวดีซึ่งคงสื่อถึงก้อนเมฆ ด้านขวาของพระอินทร์มีช้างเอราวัณ

พระพิมพ์
ขอนแก่น
ประติมากรรมพระพิมพ์

พระพุทธเจ้านั่งทำปางสมาธิบนบัลลังก์ เบื้องขวาและเบื้องซ้ายมีภาพบุคคลด้านละ 1 คน โดยบุคคลทางขวาของพระพุทธองค์เป็นบุรุษในขณะที่ทางซ้ายน่าจะเป็นสตรี เบื้องบนเป็นพระพุทธนิรมิต 5 องค์ในอิริยาบถต่างๆ มีภาพบุคคลนั่งย่อเข่าและประนมมือไหว้พระพุทธนิรมิตองค์กลาง