ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ใบเสมา

คำสำคัญ : ใบเสมา, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น , กุลาวกชาดก, พระอินทร์, ชาดก

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 16.446119
Long : 102.83852
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 Q
Hemisphere : N
E : 269213.66
N : 1819516.46
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดง

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมเชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี

กระบวนการสร้าง/ผลิต

การแกะสลักหิน

ลักษณะทางศิลปกรรม

ใบเสมาแผ่นแบนมียอดแหลม สลักภาพเล่าเรื่องอยู่ทางด้านหน้า เป็นภาพพระอินทร์พร้อมด้วยชายาและช้างเอราวัณ

พระอินทร์นั่งในท่าลลิตาสนะอยู่ตรงกลาง ถือวัชระไว้ในพระหัตถ์ซ้าย ต้นไมทางเบื้องหลังสันนิษฐานว่าเป็นต้นปาริชาติ อันเป็นต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นสวรรค์ของพระอินทร์ เบื้องซ้ายของพระองค์มีภาพบุคคล 3 คน และนก 1 ตัว เป็นภาพชายาทั้ง 4 ของพระอินทร์ ได้แก่ สุธรรมา สุจิตรา สุนันทา และสุชาดาซึ่งกลับมาเกิดเป็นนกยาง เพราะไม่ได้สั่งสมบุญไว้เพียงพอ ด้านหลังของกลุ่มชายาเป็นลวดลายกนกแบบทวารวดีซึ่งคงสื่อถึงก้อนเมฆ ด้านขวาของพระอินทร์มีช้างเอราวัณ
สกุลช่างภาคอีสาน
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เป็นตัวอย่างของใบเสมาสลักภาพพระอินทร์พร้อมด้วยชายาและช้างเอราวัณที่งดงาม สันนิษฐานว่านำมาจากกุลาวกชาดก อันเป็นชาดกที่เล่าเรื่องประวัติของพระอินทร์

ข้อสังเกตอื่นๆ

ค้นพบจากเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 13-16
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวของพระอินทร์มีปรากฏอยู่หลายตอน ที่สำคัญมีอยู่ในกุลาวกชาดก ความโดยย่อเล่าไว้ว่า พระอินทร์เมื่อตอนเป็นมนุษย์มีชื่อว่ามาฆมานพ มีชายา 4 คน ได้แก่ สุธรรมา สุจิตรา สุนันทา และสุชาดา มาฆมานพร่วมกันกับเพื่อนอีก 32 คน สร้างศาลาที่พัก พร้อมด้วยสาธารณูปโภคต่างๆ โดยชายาทั้งสามยกเว้นนางสุชาดาได้ร่วมทำบุญนี้ด้วย เมื่อทั้งหมดสิ้นชีวิตลงจึงไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ดาวดึงส์ แปลว่า สามสิบสาม เพราะมีเทวดาผู้ใหญ่ 33 องค์) โดยมาฆมานพได้เป็นพระอินทร์ ยกเว้นแต่นางสุชาดาที่ไม่ยอมทำบุญร่วมด้วยจึงไม่ได้ขึ้นสวรรค์ แต่ได้ไปเกิดเป็นนกยาง พระอินทร์จึงลงมาสั่งสอนให้ทำบุญทำกุศล นางได้เวียนว่ายตายเกิดอีกหลายชาติ จนในที่สุดเกิดเป็นธิดาของอสูร พระอินทร์ได้ยกทัพลงมาแย่งนางขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ด้วยกันทั้งหมด

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ทวารวดีในอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, “หลักหิน-ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย” กรุงเทพฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.

วชิราภรณ์ ไชยชาติ, นำชมใบเสมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น. กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น, 2552.