ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 8 รายการ, 1 หน้า
พระบฏวัดดอกเงิน
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมพระบฏวัดดอกเงิน

พระบฏผืนนี้เขียนเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่เมืองสังกัสสะ สีที่ใช้มีหลายสี เช่น สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว สีดินเหลืองและสีดำ ปิดทองเฉพาะองค์พระพุทธเจ้า ภาพแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ช่วงบนสุดเป็นภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แสดงภาพเทวดาประคองอัญชลี มีต้นปาริชาติ เจดีย์จุฬามณี และวิมาน 2 หลังคือเวชยันต์ปราสาทและสุธรรมเทวสภา ชั้นที่สองเป็นภาพพระพุทธเจ้าขนาดใหญ่อิริยาบถลีลาลงจากบันไดแก้ว มีพระอาทิตย์และพระจันทร์ขนาบสองข้างพระเศียร ด้านซ้ายแสดงภาพเทวดาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เสด็จลงบันไดเงิน ด้านขวาแสดงภาพพรหมเสด็จลงบันไดทอง ขอบทั้งสองด้านแสดงภาพเทวดาชั้นรองถือเครื่องสักการะเหาะตามมา ชั้นที่สามแสดงภาพเมืองสังกัสสะ ฝั่งขวาคือแถวพระสงฆ์ ฝั่งซ้ายคือกลุ่มกษัตริย์ยืนรอรับเสด็จ และยังมีภาพบุคคลอื่นๆ เช่น พราหมณ์ ขุนนางประคองอัญชลีและมีภาพปราสาท ด้านล่างสุดเป็นภาพน้ำ มีมนุษยนาคประคองอัญชลี ฉากหลังเป็นดอกมณฑารพ มีจารึกอักษรฝักขามตามตำแหน่งต่างๆ

อวมงคล
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมอวมงคล

เป็นผลงานจิตรกรรมไทยประเพณีร่วมสมัยของเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์การศึกษาจิตรกรรมไทยประเพณีโบราณผสมผสานกับการศึกษาวิถีชีวิตและสังคมไทยในปัจจุบัน

ขลุ่ยทิพย์
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมขลุ่ยทิพย์

ศิลปินได้รับความบันดาลใจทางด้านรูปแบบจากพระพุทธรูปลีลา ศิลปะสุโขทัย ก่อเกิดเป็นประติมากรรมที่ผสมผสานจังหวะลีลาและเส้นสายของศิลปะไทยกับความเรียบง่ายของรูปทรงแบบสากลอย่างงดงาม จนได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม ในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2492

รำมะนา
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมรำมะนา

ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของความเป็นไทยจากพระพุทธรูปไทยที่มีสัดส่วนงดงามผนวกกับความคิดส่วนตัวโดยนำการจัดวางโครงสร้างและองค์ประกอบแบบสมัยใหม่มาผสมผสาน และสนใจสร้างงานประติมากรรมโดยการแกะสลักด้วยวัสดุไม้และงาช้าง ดังที่ศิลปินได้แสดงทัศนะไว้ว่า “รำมะนา…เวลาตีเสียงมันก้องกลมกังวาน สนุก จึงสร้างเส้นรอบนอกให้ประสานกันเป็นวงโค้งมีหน้ากลองวงกลมเป็นตัวขัดอยู่ตรงกลาง”

แบบร่างประติมากรรมพระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมแบบร่างประติมากรรมพระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบรมรูปอยู่ในลักษณะทรงฉลองพระองค์และพระมาลา ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นแบบร่างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฝั่งพระนคร หรือพระปฐมบรมราชานุสรณ์

ระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว
อังกอร์
สถาปัตยกรรมระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว

ภาพนี้เป็นภาพของระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของสถาปนิกที่นี่ อันพัฒนาต่อเนื่องมาจากอาคารยาวๆของปราสาทแปรรูป ระเบียงคดซึ่งปรากฏขึ้นใหม่นี้คั่นด้วยโคปุระทั้งสี่ด้าน มุงด้วยอิฐซึ่งถือเป็นความพยายามในการนำเอาวัสดุถาวรแต่มีน้ำหนักมากขึ้นมุงหลังคา ระเบียงคดนี้ยังคงวางอยู่ทีฐานชั้นล่างสุดของปราสาท แตกต่างจากปราสาทในระยะต่อมาที่ระเบียงคดอาจขึ้นไปวางไว้บนยอดฐานเป็นชั้นได้

ภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน
อังกอร์
ประติมากรรมภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน

ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศตะวันตกสลักเป็นภาพเล่าเรื่องมหาภารตะลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นอนอยู่บนเตียงลูกศร ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด

ภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2
กัมปง ธม
ประติมากรรมภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2

ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศใต้สลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2ลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นั่งอยู่บนบัลลังก์ยกสูงในท่านั่งมหาราชลี ด้านหลังมีฉัตร และเครื่องสูงเต็มฉากหลัง ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด