ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 33 ถึง 40 จาก 46 รายการ, 6 หน้า
พระธยานิพุทธรัตนสัมภวะ
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระธยานิพุทธรัตนสัมภวะ

พระพุทธรูปในศิลปะชวาภาคกลางได้รับอิทธิพลที่ปะปนระหว่างศิลปะหลังคุปตะและศิลปะปาละของอินเดีย พระพุทธรูปมีพระวรกายอวบอ้วน มีอุณาโลมกลางพระนลาฏตามแบปาละ ห่มเฉียงแต่ไม่มีชายจีวรที่พระอังสาซ้ายซึ่งคล้ายกับศิลปะหลังคุปตะมากกว่า ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรตามแบบอินเดียเหนือและอยู่บนฐานกลีบบัวแบบปาละ

พระธยานิพุทธ อมิตาภะ
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระธยานิพุทธ อมิตาภะ

พระพุทธรูปในศิลปะชวาภาคกลางได้รับอิทธิพลที่ปะปนระหว่างศิลปะหลังคุปตะและศิลปะปาละของอินเดีย พระพุทธรูปมีพระวรกายอวบอ้วน มีอุณาโลมกลางพระนลาฏตามแบปาละ ห่มเฉียงแต่ไม่มีชายจีวรที่พระอังสาซ้ายซึ่งคล้ายกับศิลปะหลังคุปตะมากกว่า ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรตามแบบอินเดียเหนือและอยู่บนฐานกลีบบัวแบบปาละ

พระพุทธรูป
จาการ์ตา
พระพุทธรูป

ในศิลปะชวาภาคกลางพระพุทธรูปมีรูปแบบที่ค่อนข้างหลากหลาย โยพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นการครองจีวรห่มคลุมและจีวรเรียบไม่มีริ้วตามแบบศิลปะคุปตะสกุลช่างสารนาถ อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปกลับยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นขนานกัน แม้ว่าพระหัตถ์ทั้งสองจะหักไปหมดแล้วแต่กลับทำให้นึกถึงการแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ซึ่งปรากฏเช่นกันในศิลปะทวารวดีและศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร

หน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
เสียมเรียบ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี

ฐานของพระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมฐานของพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมักมีฐานที่สูงและมีลวดบัวที่ซับซ้อน โดยฐานมักหล่อเป็นสำริดเช่นเดียวกับ ฐานมักประกอบด้วยฐานสิงห์ซึ่งมีกาบเท้าสิงห์ประกอบไปด้วยวงโค้งต่อเนื่องกันคล้ายศิลปะอยุธยาตอนกลาง ถัดขึ้นมาได้แก่บังคว่ำและท้องไม้ซึ่งคาดลูกแก้วอกไก่ ถัดขึ้นไปคือบัวหงายประกบบัวคว่ำอันเป็นการลดความแข้งกระด้างของหน้ากระดานบนและทำให้ฐานสามารถแสดงการ “งอน” ได้ตามต้องการ การงอนนี้ถือเป็นสุนทรียภาพสำคัญของลวดบัวในศิลปะล้านช้าง

พระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้างด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง

พระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้านางด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง ที่น่าสนใจก็คือพระพุทธรูปองค์นี้ที่ปลายจีวรมีการขมวดม้วนเป็นลายก้นหอยซึ่งปรากฏเช่นกันกับพระพุทธรูปปูนปั้นประดับเจดีย์บางองค์ในเมืองเวียงจันทน์

พระพุทธรูปที่วัดมโนรม
หลวงพระบาง
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดมโนรม

พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างช่วงต้น มีความใกล้ชิดกับศิลปะสุโขทัยอย่างมาก เช่น มีพระพักตร์รูปไข่ พระเกศาขมวดใหญ่ มีพระรัศมีเป็นเปลวไฟ พระเนตรเหลือบต่ำ พระอังสาใหญ่ ชายสังฆาฏิเป็นเส้นเล็กยาวลงมาจรดพระนาภี