ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 169 ถึง 176 จาก 210 รายการ, 27 หน้า
รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์แบบจากปราสาทถาปมาม แสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายนที่เข้ามามีบทบาทในศิลปะบิญดิ่นอย่างมาก เนื่องด้วยท่าทางของสิงห์ดังกล่าวคล้ายคลึงกับสัตว์แบกฐานพระราชวังหลวงของเมืองพระนครอย่างมาก อนึ่ง เนื่องด้วยการโจมตีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้ประติมากรรมในระยะนี้มีอิทธิพลขอมเข้ามาปะปน การชักชายผ้ารูปสามเหลี่ยมด้านหน้าก็ถือเป็นอิทธิพลจากศิลปะขอมเช่นกัน

รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์จากปราสาทถาปมาม แสดการยกแข้งยกขาตามแบบศิลปะจีน รวมทั้งการมีเคราก็แสดงอิทธิพลจีนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หน้าตาของสิงห์ตัวนี้ยังแสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายนที่เข้ามามีบทบาทในศิลปะบิญดิ่นด้วย อนึ่ง เนื่องด้วยการโจมตีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้ประติมากรรมในระยะนี้มีอิทธิพลขอมเข้ามาปะปน

ศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
ประติมากรรมศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย

แม้ว่าปราสาทโพกลวงการายจะมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 แต่หน้าบันรูปพระศิวนาฏราชชิ้นนี้กลับมีอายุเก่ากว่าเล็กน้อย คืออยู่ในศิลปะบิ่ญดิ่น แสดงให้เห็นถึงการนำเอาศิลปกรรมเก่ากลับมาใช้ใหม่ รูปแบบของมงกุฎพระศิวะนั้นสามารถเทียบได้กับมงกุฎในศิลปะบิญดิ่นโดยทั่วไป คือประกอบด้วยตาบเล็กๆ ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ ในรูปสามเหลี่ยม ส่วนผ้านุ่งมีการชักชายผ้ารูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นลักษณะประจำของศิลปะบิญดิ่นเช่นกัน

มุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย
ญาจาง
ประติมากรรมมุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย

พระเศียรของพระศิวะที่มุขลึงค์ประธานของปราสาทโพกลวงการาย มีลักษณะสำคัญตามแบบศิลปะในสมัยหลังโดยทั่วไป กล่าวคือ พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนาม และสวมมงกุฎเป็นทรงกระบอกซึ่งถือเป็นมงกุฎหนึ่งในสองแบบที่นิยมในศิลปะสมัยหลัง มงกุฎอีกแบบหนึ่งที่นิยมในระยะนี้ก็คือแบบกระบังหน้า

ประติมากรรมประธานในปราสาทโพโรเม
ฟานรัง
ประติมากรรมประติมากรรมประธานในปราสาทโพโรเม

ประติมากรรมโพโรเม ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามส่วนมงกุฎมักเป็นทรงกระบอก

ทับหลัง
อังกอร์
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอ ทับหลังในสมัยบันทายศรีจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะเกาะแกร์ มาผสมผสานกับศิลปะพระโค กล่าวคือการทำภาพเล่าเรืองอยู่กึ่งกลางทับหลังกดทับท่อนพวงมาลัยให้โค้งลงมาอยู่ด้านล่างของทับหลัง ท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น และใบไม้ห้อยลงตามอีกทั้งยังปรากฏการทำพวงอุบะแทรกอยู่ในส่วนของใบไม้ห้อยลงตามแบบศิลปะพระโค ลักษณะเด่นของทับหลังในสมัยนี้ก็คือการประดับบริเวณเสี้ยว (เศษ 1 ส่วน 4) ของท่อนพวงมาลัยด้วยรูป “ใบหน้าสัตว์ขบท่อนพวงมาลัย” ซึ่งต่อไปจะเป็นต้นแบบของเสี้ยวพวงอุบะในศิลปะบาปวน

ทับหลัง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลังในสมัยกุเลนจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะชวา กล่าวคือการทำหน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านบนของท่อนพวงมาลัย ปลายทั้งสองข้างทำเป็นมกรหันหน้าออก ตามแบบซุ้มกาล-มกรตามศิลปะชวาภาคกลาง ท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น ห้อยลงตามแบบศิลปะกำพงพระ เหรียญทรงกลมจากศิลปะกำพงพระปรับเปรียบเป็นลายดอกไม้กลม ใต้ท่อนพวงมาลัยระหว่างช่องใบไม้ตกลงปรากฏการทำพวงอุบะแทรกอยู่

ทวารบาล
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทวารบาล

ประติมากรรมทวารบาล สลักเครื่องทรงอย่างเต็มที่ สวมกระบังหน้าและทำมวยผมเป็นทรงกระบอกตามรูปแบบของประติมากรรมในสมัยเมืองพระนคร มีการสวมเข็มขัดรูปวงโค้ง และ อุทรพันธะ (เข็มขัดคาดท้อง) นุ่งผ้าแบบสมพตสั้นมีการอัดพลีต มีการชักชายผ้านุ่งแบบชายผ้ารูปหางปลาชายเดียวด้านหน้าและชายพกด้านข้างแบบไม่เป็นธรรมชาติ ตามรูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร