ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมปราสาทบากอง
ปราสาทประธานจำนวน 1 หลังตั้งอยู่บนฐานเป็นชั้น ล้อมรอบด้วยปราสาทหลังเล็กๆ จำนวนหนึ่ง ด้านหน้ามีซุ้มประตูสำหรับทางเดินขึ้น ส่วนปราสาทหลังอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่นั้น สร้างด้วยอิฐและตั้งอยู่บนพื้น กระจายตัวกันอยู่ทุกทิศ (ไม่เห็นในภาพ)อนึ่ง ปราสาทหลังนี้ยังคงสร้างปราสาทจำนวนน้อยหลังบนฐานเป็นชั้น เนื่องจากฐานเป็นชั้นนี้สร้างอยู่บนพื้นราบ ในระยะต่อไป ปราสาทจะพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นที่มีปราสทอยู่ด้านบนฐานเป็นจำนวนมากและมีความซับซ้อนมากขึ้น
สถาปัตยกรรมปราสาทบริวารของปราสาทบากอง
ภาพปราสาทบริวารของปราสาทบากอง เป็นปราสาทอิฐที่แตกต่างด้วยปูนปั้น ตั้งอยู่บนพื้น กระจายตัวกันอยู่ทุกทิศ จำนวนแปดหลัง (ด้านละสองหลังดังที่เห็นในภาพ)
สถาปัตยกรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบากอง
เป็นที่น่าแปลกว่า ปราสาทประธานของปราสาทบากองกลับสร้างด้วยหินทรายและมีลวดลายในสมัยนครวัด ซึ่งแตกต่างไปจากองค์ประกอบโดยรวมของปราสาทบากองที่มีอายุอยู่ในสมัยพระโค อันแสดงให้เห็นว่า ปราสาทประธานหลังนี้ถูกสร้างใหม่ในสมัยนครวัด ซ่งออาจทดแทนปราสาทหลังเดิมของปราสาทบากองที่สร้างด้วยอิฐและอาจพังทลายลงในสมัยนครวัดลักษณะของปราสาทในสมัยนครวัดก็คือ การมีแผนผังเพิ่มมุม การตกแต่งด้วยนางอัปสรที่แต่งกายตามแบบนครวัดและการประดับกลีบขนุนที่ยอดด้านบน
สถาปัตยกรรมปราสาทตระพังพง
ปราสาทก่อด้วยอิฐและประดับด้วยปูนปั้นตามแบบสถาปัตยกรรมพระโคโดยทั่วไป เรือนธาตุมีการประดับด้วยภาพเทพธิดาเช่นเดียวกับปราสาทพระโคและโลเลย ส่วนทับหลังและประตูหลอกสร้างด้วยหิน สลักเป็นลายหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยประดับมกรที่ปลายสุดตามแบบอิทธิพลชวา ยอดปราสาทมีเรือนธาตุจำลองซ้อนชั้นตามแบบวิมานอินเดียใต้ แต่เก็จประธานกลับมีการยกมุมแตกออกเป็นเก็จย่อยๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับปราสาทในสมัยก่อนเมืองพระนคร อนึ่ง ศิลปะพระโคถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยก่อนเมืองพระนครกับสมัยพระนคร ด้วยเหตุนี้จึงมีลักษณะบางอย่างปะปนกันได้
สถาปัตยกรรมปราสาทโลเลย
ปราสาทโลเลยประกอบด้วยปราสาทก่อด้วยอิฐประดับด้วยปูนปั้นจำนวน 4 หลัง ตั้งเรียนกันบนพื้นราบซึ่งคงมีพื้นฐานมาจากปราสาทพระโคที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษเช่นเดียวกัน รายละเอียดทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับปราสาทตระพังพงและปราสาทบากอง กล่าวคือ ประกอบด้วยทับหลังและประตูหลอกที่สลักด้วยหิน ส่วนด้านข้างของเรือนธาตุปรากฏรูปเทพและเทพธิดาทวารบาล ด้านบนเป็นชั้นวิมานตามแบบอินเดียใต้แต่มีการยกเก็จจำนวนมากที่เก็จประธาน
ประติมากรรมทับหลัง
ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอทับหลังในสมัยพระโคจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะกุเลน ผ่านศิลปะชวา กล่าวคือการทำหน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านบนของท่อนพวงมาลัย ปลายทั้งสองข้างทำเป็นมกรหันหน้าออก ตามแบบซุ้มกาล-มกรตามศิลปะชวาภาคกลางแต่อย่างไรก็ตามในศิลปะพระโคสามารถทำเป็นประติมากรรมอื่นๆหันออกแทน ดังเช่นในภาพเป็นคชสิงห์ยืนอยู่บนแท่นท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น ห้อยลงตามแบบศิลปะกุเลนลายดอกไม้กลมได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแทรกภาพบุคคลอยู่ระหว่างท่อนพวงมาลัยรวมถึงภาพบุคคลที่แทรกอยู่ในส่วนของใบไม้ตกลงใต้ท่อนพวงมาลัยระหว่างช่องใบไม้ตกลงปรากฏการทำใบไม้สามเหลี่ยมแทรกอยู่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาต่อไปในศิลปะเกาะแกร์ด้านล่างของแผ่นทับหลังปรากฏการทำแถวดอกบัวซึ่งต่อมาจะเป็นรูปแบบที่ส่งให้กับทับหลังในสมัยศิลปะแปรรูป