ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 409 ถึง 416 จาก 519 รายการ, 65 หน้า
หน้ายักษ์ด้านบนเพดาน
อมรปุระ
จิตรกรรมหน้ายักษ์ด้านบนเพดาน

จิตรกรรมของจอกตอจีมีประเด็นอิทธิพลไทยอย่างชัดเจนในหลายเครื่อง โดยเฉพาะการเขียนภาพเทวดาแบบไทยและหน้ายักษ์ตามแบบไทยซึ่งแสดงการเขียนพรายโอษฐ์ตามแบบหัวโขนไทยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่จิตรกรรมดังกล่าวอาจวาดขึ้นโดยช่างผู้เป็นลูกหลานของชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

ภาพบุคคลเหาะ
อมรปุระ
จิตรกรรมภาพบุคคลเหาะ

เนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมที่เจดีย์จอกตอจีจึงแสดงภาพเทวดา/ฤๅษีเหาะปะปนกับคิวปิด (cupid) ตามแบบตะวันตก ดอกไม้และลวดลายพันธุ์พฤกษาเองก็ประกอบไปด้วยใบอะแคนธัสตามแบบตะวันตกเช่นกัน รวมถึงทัศนียวิทยาของภูเขาที่เป็นฉากหลังก็แสดงความเกี่ยวข้องกับศิลปะตะวันตกอย่างมาก

ต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
ประติมากรรมต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง

การประดับกระจกบนผนัง ดูเหมือนว่าจะเป้นความนิยมในการตกแต่งผนัง “ภายนอกอาคาร” ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งแบบนี้ปรากฏกับอาคารหลายหลังที่วัดเชียงทอง อนึ่ง กระจกนอกจากให้ความแวววาวเมื่อต้องแสงแดดแล้ว ยังคงทนต่อสภาพอากาศกว่าการเขียนจิตรกรรมหรือลายคำอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เทคนิคดังกล่าวจึงมักใช้กับการตกแต่งภายนอกอาคาร

ลายคำประดับผนังด้านนอกสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
จิตรกรรมลายคำประดับผนังด้านนอกสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร อย่างไรก็ตาม ที่สิมวัดเชียงทองกลับปรากฏการประดับลายคำภายนอกอาคารซึ่งถือเป็นกรณีที่หายาก

เจดีย์จุฬามณี ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
ประติมากรรมเจดีย์จุฬามณี ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก

ทวารบาล ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
จิตรกรรมทวารบาล ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก บริเวณผนังที่ขนาบทางเข้ายังปรากฏภาพ “ทวารบาล” หรือเทวดาผู้รักษาประตูขนาดใหญ่ เทวดาเหล่านี้มักถือดอกโบตั๋นอันสื่อความหมายถึง “การบูชาพระพุทธเจ้า” ผู้ประทับภายในอาคารนั้น ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ในศิลปะจีนที่เข้ามามีบทบาททั้งในศิลปะล้านช้างและล้านนา

เทวดา ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
จิตรกรรมเทวดา ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก

จิตรกรรมวัดป่าฮวก
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมวัดป่าฮวก

ศิลปะหลวงพระบางช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลรัตนโกสินทร์อย่างมาก อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่า การที่เจ้านายบางพระองค์ในราชวงศ์หลวงพระบางได้เคยเสด็จมาประทับ ณ กรุงเทพจึงอาจทำให้อิทธิพลรัตนโกสินทร์ปรากฏบทบาทอย่างมากในถบนี้ก็ได้