ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ ด้านบนพระเศียรมีรัศมีรูปน้ำเต้าตามอิทธิพลจีน จีวรมีลักษณะประดิษฐ์มาก โดยประดิษฐ์มาจากชายจีวรสองชั้นของพระพุทธรูปในศิลปะอังวะ-อมรปุระ ที่พระอังสาขวามีการชักชายจีวรมาครอบตามแบบอิทธิพลจีน
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระทรงเครื่อง มีกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะปาละ แต่กรรเจียกกลับแผ่ออก มีขนาดใหญ่มากอันเป็นพัฒนาการมาจากศิลปะทิเบต พระพุทธรูปทรงสังวาลรูปตัว U และมีตาบอกรูปประจำยามซึ่งแสดงการผสมผสานกันระหว่างศิลปะทิเบตกับศิลปะอยุธยา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะพิเศษ คือทรงถือ “ตาลปัตร” หรือพัดที่ทำจากใบตาลอยู่ที่พระอุระ ตาลปัตรนี้กำเนิดในลังกา โดยมักถือโดยพระภิกษุที่ขึ้นเทศนาธรรม ต่อมาได้สงอิทธิพลให้กับเอเชียอาคเนย์ด้วย โดยมักปรากฏกับพระพุทธรูป พระภิกษุหรือพระโพธิสัตว์ที่กำลังประทับนั่งเทศนาธรรม อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้ถือเป็นลักษณะพิเศษที่ประทับยืนขณะที่ถือตาลปัตร