ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พุทธเถรวาท, ถ้ำปินดายา

ชื่อหลักถ้ำปินดายา
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
จังหวัด/เมืองปินดายา
รัฐ/แขวงฉาน
ประเทศเมียนมา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 21.894167
Long : 96.064722

ประวัติการสร้างการสร้างพระพุทธรูปจำนวนมากภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นกิริยาบุญของชาวไทยใหญ่ที่แต่ละคนมักมีศรัทธาสร้างพระพุทธรูปจำนวนมากในถ้ำ พระพุทธรูปแต่ละองค์จึงมีขนาดและอายุสมัยแตกต่างกัน
ลักษณะทางศิลปกรรมพระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ ด้านบนพระเศียรมีรัศมีรูปน้ำเต้าตามอิทธิพลจีน จีวรมีลักษณะประดิษฐ์มาก โดยประดิษฐ์มาจากชายจีวรสองชั้นของพระพุทธรูปในศิลปะอังวะ-อมรปุระ ที่พระอังสาขวามีการชักชายจีวรมาครอบตามแบบอิทธิพลจีน
สกุลช่างไทยใหญ่
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล
อายุพุทธศตวรรษที่ 24-25
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพระหัตถ์ของพระพุทธรูปองค์นี้ ไม่ได้แสดงปางมารวิชัยโดยทั่วไปแต่แสดงการถือผลสมอ ซึ่งเป็นของถือของพระไภษัชยคุรุ แสดงให้เห็นว่าในไทยใหญ่ คติพระไภษัชยคุรุได้เข้ามาปะปนกับพระพุทธเจ้าศรีศากยมุนี อันแสดงการผสมผสานกันระหว่างคติมหายานกับคติเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี