ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมพระพุทธบาทบนเพดาน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ
จิตรกรรมพุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปเย
จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปยี เป็นตัวอย่างของจิตรกรรมในศิลปะพุกามตอนปลายที่มักเขียนภาพบุคคลขนาดใหญ่ พระพักตร์แสดงการ “ก้มลง” อย่างชัดเจน พื้นที่ว่างถูกถมไปด้วย “ลวดลายกนก” จำนวนมาก ทั้งหมดนี้แตกต่างไปจากศิลปะพุกามตอนต้น อย่างไรก็ตาม ขนบหลายประการ เช่นการเน้นสีโทนร้อน การเขียนต้นไม้แบบประดิษฐ์นั้นก็ยังคงดำเนินตามขนบปาละอยู่
จิตรกรรมปยาทาด จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปเย
จิตรกรรมในเจดีย์ตโยกปยี เป็นตัวอย่างของปยาทาด (ปราสาท) หรือเรือนที่มีหลังคาดซ้อนชั้นในศิลปะพุกามตอนปลายที่อาจสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารเครื่องไม้จริงในศิลปะพุกามที่สูญหายไปหมดสิ้นแล้ว ปราสาทถือเป็นเรือนฐานันดรสูงสำหรับพระพุทธเจ้าหรือกษัตริย์ ปรากฏมาตั้งแต่สมัยพุกามและยังคงปรากฏสืบทอดมาจนถึงสมัยมัณฑเล
จิตรกรรมการปราบช้างนาฬาคีรี จิตรกรรมในเจดีย์ปยาตองสู
จิตรกรรมแสดงการใช้โทนสีร้อนแบบปาละ คือ เน้นสีแดง เหลือง ดำ ขาว ส่วนรูปแบบของพระพุทธรูปล้วนแต่เกี่ยวข้องกับจิตรกรรมในใบลานของศิลปะปาละซึ่งคงถูกนำมาที่พุกามและกลายเป็นต้นแบบสำหรับจิตรกรพุกามด้วย อย่างไรก็ตาม การถมลวดลายลงไปในพื้นที่ว่างเปล่านั้นเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะพุกามตอนปลาย
จิตรกรรมจิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู
ซุ้มประตูของเจดีย์ปยาตองสูตกแต่งด้วยจิตรกรรมอย่างน่าสนใจ โดยตามเคล็กมีการถมด้วยลวดลายพันธ์พฤกษาแทนกลายเทวดาตามแบพุกามตอนปลาย ที่ปลายสุดของซุ้มปรากฏรูปกินนร-กินนรีกำลังยกมือไหว้ ซึ่งลวดลายนี้จะเป็นต้นแบบให้ศิลปะสุโขทัยและล้านนาในศิลปะไทย นอกจากนี้ยังประดับพระโพธิสัตว์กำลังกอดนางตาราอันแสดงแนวโน้มความเป็นมหายานของวัดแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์เจดีย์ปยาตองสู
พระโพธิสัตว์ที่เจดีย์ปยาตองสู ทรงเครื่องทรงที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น มงกุฎสามตาบ ผ้านุ่งที่เป็นริ้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตว์แสดงอาการจีบนิ้วและถือ “ช่อกนก” อันแตกต่างไปจากพระโพธิสัตว์ในศิลปะพุกามตอนต้นที่ยังคงถือดอกไม้จามแบบศิลปะปาละ
จิตรกรรมพระอดีตพุทธเจ้าที่มากมายนับไม่ถ้วน เจดีย์ปยาตองสู
ผนังของเจดีย์ปยาตองสูมีการประดับด้วยจิตรกรรมพระอดีตพุทธเจ้าจำนวนนับไม่ถ้วน โดยบางครั้งพระอดีตพระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็อยู่ในช่องตารางที่เป็นรวงผึ้ง
จิตรกรรมเทวดาและพระสาวกเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตอนปรินิพพาน
จิตรกรรมในสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือ ใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพะเป็นแถบยาวๆคล้ายภาพบนใบลาน