ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เทวดาและพระสาวกเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตอนปรินิพพาน
คำสำคัญ : พระพุทธเจ้า, พุทธประวัติ, ถ้ำโพวินต่อง
ชื่อหลัก | ถ้ำโพวินต่อง |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | โมนยวา |
รัฐ/แขวง | สะกาย |
ประเทศ | เมียนมา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 22.045833 Long : 94.985 |
ประวัติการสร้าง | ถ้ำโพวินต่อง เป็นถ้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยการขุดเข้าไปในภูเขา มีจำนวนหลายร้อยถ้ำ แต่ละถ้ำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและเขียนจิตรกรรมอยู่เต็ม ถ้ำเหล่านี้คงเคยเป็นที่ทำสมาธิของพระภิกษุมาก่อน |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | จิตรกรรมในสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือ ใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพะเป็นแถบยาวๆคล้ายภาพบนใบลาน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | นยองยาน |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 22-23 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ในช่วงที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ได้มีเหล่าพระสาวกและเทวดาจำนวนมากมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ที่ป่าสาลวโนทยาน ตามที่เล่าในมหาปรินิพพานสูตรในพระสุตตันตปิฎก พระสาวกบางพวกได้แสดงความเสียใจร้องไห้ แต่พระสาวกที่ได้บรรลุมรรคผลแล้วกลับสงบนิ่งอันเป็นผลจากความเข้าใจในสัจธรรม |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |