ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พุทธประวัติตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระอดีตพุทธเจ้า

คำสำคัญ : พระพุทธเจ้า, ถ้ำโพวินต่อง

ชื่อหลักถ้ำโพวินต่อง
ประเภทงานศิลปะจิตรกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองโมนยวา
รัฐ/แขวงสะกาย
ประเทศเมียนมา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 22.045833
Long : 94.98

ประวัติการสร้างถ้ำโพวินต่อง เป็นถ้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยการขุดเข้าไปในภูเขา มีจำนวนหลายร้อยถ้ำ แต่ละถ้ำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและเขียนจิตรกรรมอยู่เต็ม ถ้ำเหล่านี้คงเคยเป็นที่ทำสมาธิของพระภิกษุมาก่อน
ลักษณะทางศิลปกรรมจิตรกรรมในสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพเป็นแถบยาวๆ คล้ายภาพบนใบลาน
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะนยองยาน
อายุพุทธศตวรรษที่ 22-23
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธประวัติของพระอดีตพุทธดังที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธวงศ์หรือคัมภีร์อื่นๆ มักเลียนแบบพุทธประวัติของพระพุทธองค์องค์ปัจจุบัน เช่น พระโพธิสัตว์ย่อมเสด็จหนีออกจากเมืองเช่นเดียวกันและมีพญามารมาห้อมเช่นเดียวกัน ก่อนที่จะตัดพระเกศาริมแม่น้ำเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนกลับออกแบบให้รายละเอียดมีความแตกต่างกันออกไปเล็กน้อย เช่นพาหนะของพระอดีตพุทธแต่ละองค์ก็จะแตกต่างกันออกไป
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องภาพแบ่งออกเป็นสามแถว แสดงว่าเป็นพระพุทธเจ้าคนละพระองค์กัน แต่เล่าเรื่องเดียวกันคือตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ โดยมีองค์ประกอบเดียวกัน คือ มีพระราชวังทางด้านซ้ายมือ มีพระโพธิสัตว์บนพาหนะตรงกลางโดยมีพญามารมาห้าม และตัดพระเกศาด้านขวามือ อย่างไรก็ดี พาหนะของพระโพธิสัตว์แต่ละองค์กลับแตกต่างกันออกไป โดยแถวบนและล่างพระโพธิสัตว์เสด็จหนีโดยใช้รถเป็นพาหนะ ส่วนแถวกลางเสด็จหนีโดยใช้ม้า

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี