ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมเจดีย์ปาโตดอจี
เจดีย์รองรับด้วยฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนสามชั้น แต่ละชั้นมีลวดบัวคล้ายคลึงกับฐานในศิลปะพุกาม เช่นการคาดลูกแก้วสองเส้นซึ่งมีภาพเล่าเรื่องอยู่ตรงกลาง กึ่งกลางฐานมีบันไดขึ้นไปสู่ทางประทักษิณด้านบนซึ่งมีทั้งสามชั้น องค์ระฆังประดับด้วยหน้ากาลคายพวงมาลัย ปล้องไฉนเป็นทรงกรวยสูงรอบรับปลีซึ่งยืดสูงเช่นกัน ลักษณะทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับเจดีย์พุกามมากยกเว้นปล้องไฉนและปลีซึ่งยืดสูงกล่าวศิลปะพุกาม เจดีย์องค์นี้มีความพยายามในการเลียนแบบศิลปะพุกามอย่างมาก ซึ่งถือเป็นแนวโน้มโดยทั่วไปในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล
สถาปัตยกรรมเจดีย์จอกตอจี
เจดีย์จอกตอจีถือเป็นเจดีย์จำลองอานันทเจดีย์ที่งดงามที่สุดในศิลปะอมรปุระ เจดีย์มียอดศิขระซ้อนด้วยยอดเจดีย์เช่นเดียวกับศิลปะพุกาม นอกจากนี้ยังมีความพยายามในการแบ่งเก็จตามแบบศิขระพุกามอีกด้วย ที่ด้านทั้งสี่ปรากฏมุขยื่นออกมาสี่ทิศและลวดลายหน้าบันที่ประดับด้วยมกรและเคล็กตั้งตรงตามแบบพุกาม อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการตกแต่งอื่นๆ กลับแตกต่างไปจากศิลปะพุกามพอสมควร อนี่ง ศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล มีความพยายามในการเลียนแบบศิลปะพุกามอย่างมาก ดังปรากฏในหลายตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าสถาปนิกชาวพม่าในสมัยหลังยกย่องศิลปะพุกามว่าเป็นจุดสูงสุดของศิลปะพม่า
สถาปัตยกรรมวัดกุโสดอ
วัดกุโสดอ ประกอบด้วยเจดีย์ประธานซึ่งจำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวซิกองเมืองพุกาม แวดล้อมไปด้วยเจดีย์ทรงปราสาทขนาดเล็กซึ่งประดิษฐานแผ่นจารึกพระไตรปิฎก เจดีย์เหล่านี้มีการแบ่งกลุ่มตามหมวดของพระไตรปิฎกตั้งแต่พระวินัย พระสูตรและพระอภิธรรม
สถาปัตยกรรมปราสาทบายน
ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตร ปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน
สถาปัตยกรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบายน
ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตรปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน
สถาปัตยกรรมพระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน
ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง อย่างไรก็ตม บางท่านเห็นว่าพระพักตร์ดังกล่าวอาจหมายถึงพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอันเป็นพระโพธิสัตว์แหงความกรุณาในพุทธศาสนามหายาน บาท่านเห็นว่าอาจเป็นสนัตกุมารพรหมอันเป็นพระพรหมในพุทธศาสนามหายานก็ได้ น่าสังเกตว่าพระพักตร์เหล่านี้ล้วนแต่มีการแสดงอารมณ์แบบเดียวกัน คือ ค่อนข้างลึกลับ ตาปิด ยิ้มมุมปากซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะว่า “ยิ้มแบบบายน”
สถาปัตยกรรมปราสาทนาคพัน
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงขุดบารายชยตฑาคะขึ้นที่ด้านหน้าเมืองราชัยศรี (ปราสาทพระขรรค์) กลางสระนั้นโปรดให้สร้างปราสาทนาคพันขึ้นเพื่อตามคติสระอโนดาต อันเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทดวา