ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 97 ถึง 104 จาก 114 รายการ, 15 หน้า
พระมหามัยมุนี
มัณฑเลย์
ประติมากรรมพระมหามัยมุนี

พระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะยะไข่ มักเปลือยพระวรกายท่อนบน นั่งขัดสมาธิราบตามแบบอินเดียใต้แต่แสดงปางมารวิชัยตามแบบอินเดียเหนือ ต่อมาพระเจ้าปดุงและกษัตริย์รุ่นหลังได้ถวายเครื่องทรงแก่พระพุทธรูปองค์นี้ โดยถวายมงกุฎแหลมสูงและสังวาลตัดเป็นกากบาท มีตาบอก อันเป็นเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยา ต้องไม่ลืมว่าช่างชาวอยุธยาได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่เมือง

พระพุทธรูปประธานที่เจดีย์จอกตอจี
อมรปุระ
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานที่เจดีย์จอกตอจี

พระพุทธรูปประธานของเจดีย์จอดตอจี เป็นพระที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างแบบ “อังวะ” กับแบบ “มัณฑเล” ด้วยการที่ยังคงครองจีวรเรียบอยู่และมีชายจีวรสองชันห้อยลงมาจากพระอังสาซ้ายตามแบบอังวะ อย่างไรก็ตาม จีวรชายล่างกลับหยักทบกันไปมาตามแบบมัณฑเลแล้ว อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยหินอ่อน-อลาบาสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “จอกตอจี” ซึ่งแปลว่าหินใหญ่

พระสาวก 80 องค์ที่เจดีย์จอกตอจี
อมรปุระ
ประติมากรรมพระสาวก 80 องค์ที่เจดีย์จอกตอจี

ที่ระเบียงโดยรอบเจดีย์จอกตอจีเป็นทีประดิษฐานพระสาวกจำนวน 80 องค์ซึ่งเรียกว่าพระอสีติมหาสาวก พระสาวกเหล่านี้สร้างขึ้นจากหินอ่อน-อลาบาสเตอร์เช่นเดียวกับพระประธาน นั่งพับเพียบและประสานมือในท่าเรียบร้อย จีวรของพระเหล่านี้เป็นริ้วแล้วซึ่งแสดงแนวโน้มไปสู่ศิลปะมัณฑเล

พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
ปินดายา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ ด้านบนพระเศียรมีรัศมีรูปน้ำเต้าตามอิทธิพลจีน จีวรมีลักษณะประดิษฐ์มาก โดยประดิษฐ์มาจากชายจีวรสองชั้นของพระพุทธรูปในศิลปะอังวะ-อมรปุระ ที่พระอังสาขวามีการชักชายจีวรมาครอบตามแบบอิทธิพลจีน

พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
ปินดายา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระทรงเครื่อง มีกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะปาละ แต่กรรเจียกกลับแผ่ออก มีขนาดใหญ่มากอันเป็นพัฒนาการมาจากศิลปะทิเบต พระพุทธรูปทรงสังวาลรูปตัว U และมีตาบอกรูปประจำยามซึ่งแสดงการผสมผสานกันระหว่างศิลปะทิเบตกับศิลปะอยุธยา

พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
ปินดายา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะพิเศษ คือทรงถือ “ตาลปัตร” หรือพัดที่ทำจากใบตาลอยู่ที่พระอุระ ตาลปัตรนี้กำเนิดในลังกา โดยมักถือโดยพระภิกษุที่ขึ้นเทศนาธรรม ต่อมาได้สงอิทธิพลให้กับเอเชียอาคเนย์ด้วย โดยมักปรากฏกับพระพุทธรูป พระภิกษุหรือพระโพธิสัตว์ที่กำลังประทับนั่งเทศนาธรรม อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้ถือเป็นลักษณะพิเศษที่ประทับยืนขณะที่ถือตาลปัตร

พระพุทธบาทชเวเสตตอจำลอง
ย่างกุ้ง
ประติมากรรมพระพุทธบาทชเวเสตตอจำลอง

พระพุทธบาทในศิลปะสมัยหลังพุกาม มักประดับด้วยลายมงคลทั้ง 108 ลาย โดยมีทั้งแบบที่บรรจุในตารางกระจายทั้งพระบาท และแบที่วนเป็นวงกลมอยู่ที่กึ่งกลางพระบาทเท่านั้น ส่วนที่ขอบล้อมรอบไปด้วยพญานาคและมักมีขอบพระบาทหนาเพื่อหล่อน้ำไวตลอดเวลา ตามคติเรื่องพระบาทที่ชเวเสตตอซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำ

ตุ๊กตาไม้รูปเทวทูตสี่
พุกาม
ประติมากรรมตุ๊กตาไม้รูปเทวทูตสี่

ในศิลปะมัณฑเล วัดแต่ละแห่งมักประดับด้วยตุ๊กตาไม้ซึ่งเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือชาดก เช่น พุทธประวัติตอนเทวทูตสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะ โดยประติมากรรมทั้งสี่นี้มักจะสลักเป็นชุด ประติมากรรมมักเน้นความสมจริง เช่น คนมักเน้นความเหี่ยวย่นของร่างกาย ส่วนคนตายก็จำลองภาพของศพนอนอืด การสลักได้เหมือนจริงนี้ถือว่าเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของประติมากรรมพม่า และยังอาจแสงอิทธิพลตะวันตกด้วย