ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระพุทธรูปนั่่งห้อยพระบาทสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังกลมและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆส่วนรูปแบบจีวรของพระพุทธรูปกลับมีการปะปนกันระหว่างศิลปะหลังคุปตะที่ถ้ำอชันตาและศิลปะปาละ เช่นการห่มเฉียงและมีชายจีวรสั้นเหนือพระถันตามแบบปาละ แต่มีจีวรแหวกระหว่างพระเพลาซึ่งทำให้นึกถึงที่ถ้ำอชันตา
ประติมากรรมพระอมิตาภะสำริด (?)
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะบัลลังก์ซึ่งประกอบไปด้วยคานตั้งคานนอน คานตั้งประดับด้วยวยาลยกขา ส่วนคานนอน ประดับด้วยอามลกะและมกรหันออก ที่แท่นบัลลังก์ปรากฏกลีบบัวขนาดใหญ่รองรับพระพุทธรูปซึ่งเป็นระเบียบปกติของประติมากรรมสำริดที่นาลันทาในอินเดียตะวันออก
ประติมากรรมพระมหาการุณิกะสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนสำริด
พระพุทธรูปองค์นี้มีความคล้ายคลึงกับศิลปะอมราวดี-ลังกาอย่างมาก ด้วยเหตุทีมีอุษณีษะต่ำ ประทับยืนแต่ห่มจีวรเฉียงมีขอบจีวรขึ้นมาพาดพระกรซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกข้นขนานกันในปางวิตรรกะ-กฎกมุทรา อันเป็นปางที่ได้รับความนิยมมากกับพระพุทธรูปลังกา พระพุทธรูปองค์นี้จึงสรุปได้ว่าได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียใต้-ลังกาอย่างมาก อย่างไรก็ดี จีวรของพระพุทธรูปองค์นี้กลายเป็นจีวรเรียบไม่มีริ้วแบบคุปตะและวกาฏกะแล้ว
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับยืนสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีประภามณฑลประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดูแปลกออกไปจากศิลปะปาละก็คือ ฟู่ห้อยที่คลุมพระอังสา และโบหูกระต่ายซึ่งลักษณะหลังนี้เยวข้องกับศิลปะอินเดียใต้มากกว่า
ประติมากรรมนางตาราสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังวงรีและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร
ประติมากรรมภฤกุฎี
ในระยะต้นของศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมยังคล้ายคลึงกับประติมากรรมในศิลปะชาภาคกลาง อย่างไรก็ตาม ที่แผ่นหลังเริ่มประดับด้วย “ใบบัว” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ นอกจากนี้ ประติมากรรมยังถูกตกแต่งด้วยสร้อยเพชรพลอยและอุบะไข่มุกมากขึ้น
ประติมากรรมพระมัญชุศรี
ลักษณะสำคัญของประติมากรรมชวาภาคตะวันออก คือ ที่แผ่นหลังประดับด้วย “ใบบัว”จำนวนมาก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ สำหรับประติมากรรมชิ้นนี้ยังมีเครื่องประดับน้อยเมื่อเทียบกับประติมากรรมในสมัยชวาภาคตะวันออกชิ้นอื่นๆ จึงดูมีความใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคกลางมากและอาจเป็นไปได้ที่จะมีอายุในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ