ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 233 ถึง 240 จาก 383 รายการ, 48 หน้า
ประติมากรรมสมัยหลัง
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง

ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎแบบกระบังหน้า

ประติมากรรมสมัยหลัง
โฮจิมินห์
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง

ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎหมวกทรงกระบอก

ประติมากรรมบุคคลทรงมงกุฎ
ดานัง
ประติมากรรมประติมากรรมบุคคลทรงมงกุฎ

ดูเหมือนประติมากรรมบุคคลนี้จะมีอายุที่เก่าแก่ที่สุดในศิลปะจาม เนื่องจากมีมงกุฎใกล้เคียงกับศิลปะคุปตะของอินเดียอย่างมาก โดยเฉพาะการประดับมงกุฎที่มีตาบกลมจำนวนสามตาบและการทรง “ศิรัศจักร” หรือผ้ารูปกลมจับจีบที่แผ่ด้านหลังพระเศียร

พระโพธิสัตว์อากาศครรภ์
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อากาศครรภ์

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

ภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

นางหาริตี
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมนางหาริตี

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

พระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต

พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีรูปแบบที่แสดงอิทธิพลจากศิลปะจาลุกยะที่ถ้ำเอลโลร่ากับศิลปะปาละจากอินเดียภาคตะวันออก พระพุทธรูปมีอุณาโลมตามแบบศิลปะปาละแต่กลับห่มเฉียงดังที่ปรากฏกับพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทที่ถ้ำอชันตาและเอลโลร่า พระพุทธองค์แสดงการจับชายจีวรขณะนั่งห้อยพระบาทรวมถึงปรากฏชายจีวรที่ตกลงมาระหว่างพระเพลาทั้งสองข้างซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะที่ถ้ำเอลโลร่า ส่วนบัลลังก์ที่ประดับด้วยมกร วยาลและช้างก็ปรากฏมาก่อนแล้วทั้งที่ถ้ำเอลโลร่าและในศิลปะปาละ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต

ด้านข้างของพระพุทธรูปภายในจันทิเมนดุตปรากฏพระโพธิสัตว์ขนาบสองข้าง คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์หนึ่ง และพระโพธิสัตว์วัชรปาณิอีกองค์หนึ่ง พระโพธิสัตว์ที่จันมิเมนดุตมีเครื่องแต่งกายที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละมาก ทั้งการทรงกระบังหน้าที่มีตาบสามเหลี่ยม 3 จุด รูปแบบชฎามกุฏทรงกระบอกและการสวมวาสตรยัชโญปวีต รวมถึงการนั่งลลิตาสนะบนฐานกลีบบัวและรูปแบบพนักบัลลังก์