ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก
เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม
เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก
ประติมากรรมพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
พระพุทธรูปมีลักษณะตามอย่างศิลปะอมราวดีหรือลังกา กล่าวคือมีอุษณีษะต่ำ พระเกศาขมวดก้นหอย ห่มจีวรเฉียง จีวรเป็นริ้วทั้งองค์ มีขอบจีวรหนายกขึ้นมาพาดพระกรซ้ายเป็นรูปสามเหลี่ยม พระพุทธรูปยกพระหัตถ์ขวาแสดงวิตรรกมุทราและยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นมาจับชายจีวรขนานกันกับพระหัตถ์ขวา รูปแบบทั้งหมดนี้แสดงว่าพระพุทธรูปองค์นี้อาจะเป็นของนำเข้ามาจากอินเดียใต้หรือลังกา
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
บันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น การประดับสิงห์คายราวบันไดและลวดลายประจำยามก้ามปูนั้น ทำให้นึกไปถึงลวดลายเดียวกันที่ถ้ำอชันตาและในศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ซึ่งมีอายุอยู่ในระยะร่วมสมัยกันหรือก่อนหน้าเล็กน้อย แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาณาจักรจามปากับอินเดียและลังกา
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน
ประติมากรรมพระหริหระ
เป็นประติมากรรมลอยตัว ปรากฏการทำชฎามงกุฎที่ด้านซีกขวา และกีรีฏมงกุฎที่ด้านซ้าย แสดงถึงความเป็นพระศิวะและพระวิษณุ ด้านบนขวามีชิ้นส่วนของตรีศูลซึ่งเป็นอาวุธของพระศิวะ ด้านบนซ้ายปรากฏพระกรถือจักรซึ่งเป็นอาวุธของพระวิษณุ ประติมากรรมทรงนุ่งผ้านุ่งแบบโทตียาว ตามอิทธิพลของศิลปะอินเดีย ด้านซ้ายของผ้าปรากฏหัวเสืออันเป็นผ้านุ่งของพระศิวะ
ประติมากรรมพระพุทธรูป
พระพุทธรูปประทับยืน ทำอภัยมุทรา อุษณีษะเป็นมวยผม ขมวดพระเกษาวนเป็นก้นหอยไม่มีอุณาโลม พระเนตรเหลือบต่ำ ครองจีวรห่มคลุม ผ้าบางแบบเปียกน้ำ แนบพระวรกาย ไม่มีริ้วจีวร ตามรูปแบบศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ สกุลช่างสารนาถ พระกรขวายกขึ้นทำวิตรรกะมุทรา กรซ้ายหักหายไป สันนิษฐานว่าจับชายจีวรลงตามแบบศิลปะคุปตะ ประทับยืนแบบสมภังค์(ยืนตรง)