ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปราสาทตาเมือนโต๊ด
คำสำคัญ : อโรคยาศาล, พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, ปราสาทตาเมือน, ปราสาทหนองบัวราย, ปราสาทตาเมือนโต๊ด, ปราสาทตาเมือนตู๊จ
ชื่อเรียกอื่น | ปราสาทตาเมือนตู๊จ |
---|---|
ชื่อหลัก | ปราสาทตาเมือนโต๊ด |
ชื่ออื่น | ปราสาทตาเมือนตู๊จ |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | ตาเมียง |
อำเภอ | พนมดงรัก |
จังหวัด | สุรินทร์ |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 14.354231 Long : 103.261804 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 P Hemisphere : N E : 312515.83 N : 1587590.38 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | กึ่งกลางแผนผังมีกำแพงล้อมรอบ |
ประวัติการสร้าง | เพื่อเป็นศาสนสถานประจำสถานพยาบาลหรืออโรคยาศาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพุทธศตวรรษที่ 18 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ศิลาแลง |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นศาสนสถานพยาบาลเรียกว่า “อโรคยศาล” เพื่อให้เป็นสถานที่รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอโรคยศาล จะมีลักษณะเหมือนกันทุกแห่ง คือ ปราสาทประธาน 1 หลัง สร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ส่วนยอดสลักด้วยหินทราย ลายกลีบบัว มีประตูทางเข้าออกด้านเดียว ส่วนอีก 3 ด้านทำเป็นประตูหลอก ประตูทางเข้าออกนี้ทำเป็นห้องยาวๆ ด้านหน้าเป็นมุข หลังคาทำจากหินทรายและศิลาแลง และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีบรรณาลัยสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูทางเข้าออก 1 ประตู ด้านทิศตะวันออก ทั้งหมดอยู่ในเขตกำแพงแก้วและซุ้มประตูสร้างด้วยศิลาแลง กำแพงแก้วมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีซุ้มประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 คูหา และบริเวณคูหากลางพบศิลาจารึก 1 หลัก ปัจจุบันอยู่ที่อาคารหอพระสมุดวชิรญาณ กรุงเทพมหานคร เป็นจารึกอักษรขอม ภาษาสันสกฤต สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ข้อความกล่าวถึง“พระไภษัชยครุไวฑูรยะ” หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงเรื่องการสร้างอโรคยศาล หรือโรงพยาบาลให้เป็นสถานที่รักษาโรค โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบริจาควัสดุอุปกรณ์พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ให้อยู่ประจำสถานพยาบาลด้วย ส่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท นอกกำแพงแก้วมีสระน้ำ 1 สระ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เป็นหนึ่งในศาสนสถานประจำอโรคยศาลที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ลพบุรี, บายน |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 18 |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธมหายาน |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-02 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. บรรณาธิการ. ปราสาทหินและทับหลัง. กรุงเทพฯ : โครงสืบสานมรดกและวัฒนธรรมไทย, 2542. อนงค์ หนูแป้น. การศึกษากลุ่มปราสาทตาเมือน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์) ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535. |