ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปรางค์สองพี่น้อง
คำสำคัญ : ปรางค์, ปรางค์สองพี่น้อง, ศรีเทพ, อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ, นครวัด
ชื่อหลัก | ปรางค์สองพี่น้อง |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | ศรีเทพ |
อำเภอ | ศรีเทพ |
จังหวัด | เพชรบูรณ์ |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 15.466288 Long : 101.143939 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 730028.76 N : 1711048.65 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ บริเวณกึ่งกลางของเขตเมืองใน |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐไม่สอปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2475 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นปราสาทเขมร ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน มีร่องรอยปูนฉาบที่ผนังด้านนอก แผนผังประกอบด้วยปราสาทสองหลังตั้งอยู่ใกล้กันในแนวเหนือ-ใต้บนฐานไพทีเดียวกัน ปราสาททั้งสองหลังหันหน้าไปทางทิศตะวันตก โดยปราสาทหลังใหญ่ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทองค์เล็กในแผนผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม มีมุขยื่นออกมาทางด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นช่องประตูทางเข้า อีกสามด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก ที่ด้านหน้ามุขปราสาทมีฐานศิลาแลงรูปกากบาท ส่วนหลังคาพังทลายจนไม่เห็นรูปทรง แต่จากการขุดแต่งพบกลีบมะเฟืองประดับหลังคาสลักจากศิลาแลง จึงสันนิษฐานว่าส่วนบนคงทำเป็นเรือนซ้อนชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับด้วยนาคปักจนถึงส่วนยอดที่เป็นกลศ รูปทรงโดยรวมของส่วนบนคงเป็นทรงพุ่มเช่นเดียวกับปราสาทหินพิมายหรือพนมรุ้ง อันเป็นพัฒนาการของปราสาทเขมรที่สำคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ปราสาทหลังเล็กทางด้านทิศใต้ แต่เดิมเหลือเพียงส่วนของเรือนธาตุช่วงล่างแต่ได้ซ่อมแซมต่อเติมขึ้นไปเพื่อติดตั้งทับหลังที่พบในบริเวณเดียวกัน วัสดุ และรูปทรงโดยรวมเหมือนกับปราสาทองค์ใหญ่ แต่ได้ลดความซับซ้อนของส่วนฐานและการซ้อนชั้นของเรือนธาตุลง และไม่ได้ก่อมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่พบบริเวณปรางค์สองพี่น้อง ได้แก่ ศิวลึงค์ ฐานโยนิ และโคนนทิ ฝังอยู่ใต้ดินในระดับฐานอาคาร จึงสันนิษฐานว่าเดิมปรางค์สองพี่น้องคงเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย ซึ่งอาจกำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 จากทับหลังและเสาประดับกรอบประตูรูปแบบศิลปะเขมรแบบบาปวนที่พบจากการขุดแต่ง |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมรที่สำคัญของเมืองศรีเทพ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นว่าอาจจะเป็นช่างท้องถิ่นที่ทำขึ้นเอง |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ลพบุรี, นครวัด |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 17 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ลัทธิ/นิกาย | ไศวนิกาย |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พราหมณ์ไศวนิกาย |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-09 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | กนกวลี สุริยะธรรม. ร่องรอยหลักฐานการนับถือศาสนาพราหมณ์ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 ที่พบบริเวณชุมชนเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. สารนิพนธ์ (ศศ.บ. (โบราณคดี)) มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541. อรนุช แสงจารึก. คติการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายที่เมืองศรีเทพ. สารนิพนธ์ (ศศ.บ. (โบราณคดี)) มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2527. |