ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 16 จาก 17 รายการ, 3 หน้า
พระพุทธรูปที่ถ้ำช้าง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำช้าง

พระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีภาคอีสาน มีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและวมขึ้นอันแสดงอิทธิพลขอมที่เข้ามาปะปน พระหัตถ์แสดงปางวิตรรกมุทราซึ่งเป็นมุทราที่โดดเด่นในศิลปะทวารวดี พระเพลาขัดสมาธิราบแบบหลวมๆและเห็นฝ่าพระบาทจากด้านบนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยนี้เช่นกัน

พระเจ้าองค์ตื้อ
เวียงจันทน์
ประติมากรรมพระเจ้าองค์ตื้อ

พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาโดยทั่วไป คือ มีพระพักตร์รูปไข่และรัศมีเป็นเปลวตามอิทธิพลของสุโขทัยและล้านนา ห่มเฉียงตามแบบที่นิยมในพระนั่ง แสดงปางมารวิชัยซึ่งนิยมกับพระพุทธรูปนั่งเช่นกัน ด้านล่างปรากฏ “กลีบบัวรวน” ซึ่งเป็นความนิยมในศิลปะล้านช้าง ต้องไม่ลืมพระรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาเป็นรัชกาลที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับล้านนาและอยุธยาอย่างมาก ด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปองค์นี้จึงสะท้อนอิทธิพลทางศิลปกรรมจากดินแดนดังกล่าวด้วย

ฐานของพระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมฐานของพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมักมีฐานที่สูงและมีลวดบัวที่ซับซ้อน โดยฐานมักหล่อเป็นสำริดเช่นเดียวกับ ฐานมักประกอบด้วยฐานสิงห์ซึ่งมีกาบเท้าสิงห์ประกอบไปด้วยวงโค้งต่อเนื่องกันคล้ายศิลปะอยุธยาตอนกลาง ถัดขึ้นมาได้แก่บังคว่ำและท้องไม้ซึ่งคาดลูกแก้วอกไก่ ถัดขึ้นไปคือบัวหงายประกบบัวคว่ำอันเป็นการลดความแข้งกระด้างของหน้ากระดานบนและทำให้ฐานสามารถแสดงการ “งอน” ได้ตามต้องการ การงอนนี้ถือเป็นสุนทรียภาพสำคัญของลวดบัวในศิลปะล้านช้าง

พระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้างด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง

พระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้านางด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง ที่น่าสนใจก็คือพระพุทธรูปองค์นี้ที่ปลายจีวรมีการขมวดม้วนเป็นลายก้นหอยซึ่งปรากฏเช่นกันกับพระพุทธรูปปูนปั้นประดับเจดีย์บางองค์ในเมืองเวียงจันทน์

ธาตุ วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดอินแปง

ธาตุวัดอินแปง เป็นธาตุในผังแปดเหลี่ยม โดยมีส่วนสำคัญอยู่ในทรงดอกบัวเหลี่ยมซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้าง ฐานเป็นฐานบัวเข่าพรหมในรูปของ “ขาสิงห์” ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กับฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลางและคล้ายคลึงอย่างมากกับส่วนเดียวกันของธาตุที่วัดองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

ธาตุ วัดนาคใหญ่
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดนาคใหญ่

เจดีย์วัดนาคใหญ่ ถือเป็นธาตุทรงปราสาทที่งดงามที่สุดในเขตเมืองเวียงจันทน์ มีความคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาอย่างมาก เรือนธาตุที่เพิ่มมุมไม้ 20 ปรากฏซุ้มทั้งสี่ทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน เหนือเรือนธาตุปรากฏชั้นหลังคารองรับองค์ระฆังในผังเพิ่มมุมไม้ 12 และยอดทรงบัวเหลี่ยม อนึ่ง ธาตุทรงปราสาทองค์นี้อาจสร้างขึ้นในระหว่างรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาถึงรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิการาชซึ่งเป็นระยะที่ศิลปะล้านช้างยังคงแสดงความใกล้ชิดกับศิลปะล้านนาและอยุธยาอยู่

สิม วัดสีสะเกด
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมสิม วัดสีสะเกด

สิมวัดสีสะเกด เป็นสิมแบบเวียงจันทน์ที่มีหลังคาด้านข้างยกสูง แตกต่างไปจากหลังคาที่เตี้ยเลียบพื้นตามแบบหลวงพระบางและเชียงขวาง โดยรอบปรากฏพาไลซึ่งคล้ายคลึงอย่างมากกับอุโบสถในศิลปะรัตนโกสินทร์หลายแห่ง ซุ้มประตูและหน้าต่างเองก็เป็นทรงมณฑปซึ่งคล้ายคลึงกับอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้นชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้าง กระเบื้องที่ไม่เคลือบสีและการปรากฏ “ช่อฟ้า” หรือปราสาทยอดที่กึ่งกลางสันหลังคาล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง