ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระมหามัยมุนี
พระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะยะไข่ มักเปลือยพระวรกายท่อนบน นั่งขัดสมาธิราบตามแบบอินเดียใต้แต่แสดงปางมารวิชัยตามแบบอินเดียเหนือ ต่อมาพระเจ้าปดุงและกษัตริย์รุ่นหลังได้ถวายเครื่องทรงแก่พระพุทธรูปองค์นี้ โดยถวายมงกุฎแหลมสูงและสังวาลตัดเป็นกากบาท มีตาบอก อันเป็นเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยา ต้องไม่ลืมว่าช่างชาวอยุธยาได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่เมือง
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานที่เจดีย์จอกตอจี
พระพุทธรูปประธานของเจดีย์จอดตอจี เป็นพระที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างแบบ “อังวะ” กับแบบ “มัณฑเล” ด้วยการที่ยังคงครองจีวรเรียบอยู่และมีชายจีวรสองชันห้อยลงมาจากพระอังสาซ้ายตามแบบอังวะ อย่างไรก็ตาม จีวรชายล่างกลับหยักทบกันไปมาตามแบบมัณฑเลแล้ว อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยหินอ่อน-อลาบาสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “จอกตอจี” ซึ่งแปลว่าหินใหญ่
ประติมากรรมพระสาวก 80 องค์ที่เจดีย์จอกตอจี
ที่ระเบียงโดยรอบเจดีย์จอกตอจีเป็นทีประดิษฐานพระสาวกจำนวน 80 องค์ซึ่งเรียกว่าพระอสีติมหาสาวก พระสาวกเหล่านี้สร้างขึ้นจากหินอ่อน-อลาบาสเตอร์เช่นเดียวกับพระประธาน นั่งพับเพียบและประสานมือในท่าเรียบร้อย จีวรของพระเหล่านี้เป็นริ้วแล้วซึ่งแสดงแนวโน้มไปสู่ศิลปะมัณฑเล
ประติมากรรมตุ๊กตาไม้รูปเทวทูตสี่
ในศิลปะมัณฑเล วัดแต่ละแห่งมักประดับด้วยตุ๊กตาไม้ซึ่งเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือชาดก เช่น พุทธประวัติตอนเทวทูตสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะ โดยประติมากรรมทั้งสี่นี้มักจะสลักเป็นชุด ประติมากรรมมักเน้นความสมจริง เช่น คนมักเน้นความเหี่ยวย่นของร่างกาย ส่วนคนตายก็จำลองภาพของศพนอนอืด การสลักได้เหมือนจริงนี้ถือว่าเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของประติมากรรมพม่า และยังอาจแสงอิทธิพลตะวันตกด้วย
ประติมากรรมช้างเอราวัณที่วัดพระมหามัยมุนี
ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น
ประติมากรรมสิงห์ที่วัดพระมหามัยมุนี
ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น
ประติมากรรมลวดลายประดับประตูที่ชเวนันดอจอง
เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ในภาพนี้เป็นภาพของกรอบประตูซึ่งได้มีการนำเอาลายใบอะแคนธัสมาใช้แทนลายกรอบหน้าบน รวมถึงเคล็กและครีบที่ประดับรอบประตู ส่วนผนังของอาคารออกแบบเป็นฝาปะกนที่ประดับด้วยบุคคลขนาดเล็ก ปิดทองซึ่งทำให้อาคารหลังนี้มีชื่อว่า ชเวนันดอ หรือพระที่นั่งทอง
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว