ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 81 ถึง 88 จาก 93 รายการ, 12 หน้า
มุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย
ญาจาง
ประติมากรรมมุขลึงค์ประธานในปราสาทโพกลวงการาย

พระเศียรของพระศิวะที่มุขลึงค์ประธานของปราสาทโพกลวงการาย มีลักษณะสำคัญตามแบบศิลปะในสมัยหลังโดยทั่วไป กล่าวคือ พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนาม และสวมมงกุฎเป็นทรงกระบอกซึ่งถือเป็นมงกุฎหนึ่งในสองแบบที่นิยมในศิลปะสมัยหลัง มงกุฎอีกแบบหนึ่งที่นิยมในระยะนี้ก็คือแบบกระบังหน้า

ประติมากรรมประธานในปราสาทโพโรเม
ฟานรัง
ประติมากรรมประติมากรรมประธานในปราสาทโพโรเม

ประติมากรรมโพโรเม ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามส่วนมงกุฎมักเป็นทรงกระบอก

ประติมากรรมสมัยหลัง
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง

ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎแบบกระบังหน้า

ประติมากรรมสมัยหลัง
โฮจิมินห์
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง

ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎหมวกทรงกระบอก

ภาพเล่าเรื่องรามายณะที่จันทิปรัมบะนัน
กลาเตน
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องรามายณะที่จันทิปรัมบะนัน

รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย

ภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะที่จันทิปรัมบะนัน
กลาเตน
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะที่จันทิปรัมบะนัน

รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย

พระอคัสตยะ
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระอคัสตยะ

ประติมากรรมพระอคัสตยะทรงชฎามกุฎที่มีกระบังหน้าประดับด้วยตาบตามแบบปาละ ทรงผ้าคาดเฉียงสั้น และทรงเข็มขัดโบหูกระต่ายตามแบบอินเดียใต้

ครุฑตกเป็นทาสของนาค
มาลัง
ประติมากรรมครุฑตกเป็นทาสของนาค

จันทิกิดาล เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803จันทิแห่งนี้มีภาพเล่าเรื่องพญาครุฑขโมยน้ำอมฤตเพื่อมาช่วยพระมารดา น้ำอมฤตเป็นน้ำแห่งความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ จึงสัมพันธ์กับคติเทวาราชา คือช่วยให้ผู้ตายได้รับชีวิตอมตะ