ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 11 รายการ, 2 หน้า
ตุ๊กตารูปคนจูงลิง
สุพรรณบุรี
ประติมากรรมตุ๊กตารูปคนจูงลิง

ตุ๊กตาดินเผาขนาดเล็ก ศีรษะและเท้าชำรุดหักหาย ลักษณะเป็นประติมากรรมเพศชาย เปลือยเปล่า ประดับสร้อยคอ สายคาดเอว และกำไลข้อมือ มือขวาถือโซ่ล่างลิงซึ่งนั่งอยู่ระหว่างขาสองข้าง มือซ้ายถือพวงผลไม้

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
พระนครศรีอยุธยา
สถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อนแกะสลักจากประเทศอิตาลี ลักษณะเป็นฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมและยอดหกเหลี่ยมทรงสูง มีรายละเอียดดังนี้ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความดังนี้ที่รฦกถึงความรักแห่งสมเดจพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรตน์พระบรมราชเทวี อรรคมเหษีอันเสดจทิวงคตแล้วซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยความศุขสบายแลเปนที่เบิกบานใจพร้อมด้วยผู้ซึ่งเปนที่รัก แลที่สนิทอย่างยิ่งของเธออนุสาวรี นี้สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์ บรมราชผู้เปนสวามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิตรถึงกระนั้นยังมิได้หักหายจุลศักราช ๑๒๔๓ผนังด้านทิศตะวันตก ปรากฏข้อความเป็นภาษาอังกฤษในความหมายเดียวกันกับด้านทิศตะวันออกผนังด้านทิศใต้ สลักเป็นตัวอักษร "ส" ภายใต้พระมงกุฎ หมายถึงอักษรพระนามาภิไธยในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีผนังด้านทิศเหนือ สลักเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

ทางประทักษิณภายในอานันทเจดีย์
พุกาม
สถาปัตยกรรมทางประทักษิณภายในอานันทเจดีย์

ภายในอานันทเจดีย์ ปรากฏทางประทักษิณภายในซ้อนกันถึง 2 ชั้น ทางประทักษิณเหล่านี้วนล้อมรอบแกนกลางและครรภคฤหะ ที่ผนังของทางประทักษิณประดับภาพสลักพุทธประวัติจำนวนมาก เพื่อให้ผู้เดินประทักษิณได้เรียนรู้พุทธประวัติไปในตัว ด้านบนปรากฏหลังคาครึ่งวงโค้ง ซึ่งได้แก่หลังคาลาดเมื่อมองจากภายนอกนั่นเอง ทางประทักษิณภายในปรากฏมาก่อนแล้วตั้งแต่ศิลปะปาละ เช่นปหรรปุระและวิกรมศิลา

เจดีย์กุพโยคจีที่มยิงกบา
พุกาม
สถาปัตยกรรมเจดีย์กุพโยคจีที่มยิงกบา

เจดียวิหารสมัยพุกามตอนต้น ซึ่งนิยมเรือนธาตุทรงเตี้ยและมืดทึบ ด้วยเหตุนี้ หน้าต่างโดยรอบของเจดีย์จึงปิดทึบไปด้วยแผง รูปแบบหน้าต่างเองก็ประดับไปด้วยเคล็กสั้นๆตามแบบพุกามตอนต้น ด้านบนปรากฏหลังคาลาดซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของเจดีย์ในสมัยพุกามตอนต้น ด้านบนสุดปรากฏศิขระในลักษณะเดียวกับเจดีย์นาคยนและอานันทเจดีย์ คือศิขระที่มีซุ้มประดับที่เก็จประธาน อันเป็นรูปแบศิขระที่นิยมในรัชกาลนี้

ทางประทักษิณและภาพสลักเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ
ไม่ปรากฏ
สถาปัตยกรรมทางประทักษิณและภาพสลักเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ

สถูปประกอบไปด้วยฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนห้าชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยทางประทักษิณที่มีภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนามหายานประดับ ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ มีภาพเล่าเรื่องตามคัมภีร์ลลิตวิสตระ คัมภีร์ชาดกและอวทาน (ระเบียงชั้นล่าง) และคัมภีร์คัณฑวยุหสูตร (ระเบียงชั้นที่ 2-4) ซึ่งทั้งหมดนี้นอกจากสลักขึ้นเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้เรียนรู้เรื่องราวทางพุทธศาสนาขณะเดินประทักษิณแล้ว ยังเป็นการบ่งบอกภพภูมิต่างๆในพุทธศาสนามหายานซึ่งถูกจำลองที่บุโรพุทโธอีกด้วย

ส่วนประดับมุมปราสาทรูปบุคคล
โฮจิมินห์
ประติมากรรมส่วนประดับมุมปราสาทรูปบุคคล

ส่วนประดับมุมรูบบุคคลนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยมิเซิน A1 ได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยมงกุฎมีลักษณะสำคัญคือประดับด้วยตาบจำนวนมาก ตาบดังกล่าวเป็นตาบที่ “คั่นกลาง” กระบังหน้า ตามมีลักษณะเป็นตาบสามเหลี่ยมขนาดเล็กซ้อนขึ้นไปหลายชั้น อนึ่งตาบแบบนี้แสดงความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะชวาซึ่งเข้ามามีบทบาทมากในระยะนี้ อนึ่ง ปราสาทในศิลปะมิเซิน A1-บิญดิ่นมักประดับมุมปราสาทด้วย “ส่วนประดับมุม” เสมอ โดยหลายครั้งที่อยู่ในรูปของบุคคลประนมมือไหว้

หน้าบัน สลักภาพอุมามเหศวร
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพอุมามเหศวร

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปอุมามเหศวร

หน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องตอนกามเทพแผลงศร
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องตอนกามเทพแผลงศร

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปกามเทพแผลงศรใส่พระศิวะ