ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประติมากรรมพระอิศวร
พระอิศวรอยู่ในอิริยาบถยืนตรงบนฐานสี่เหลี่ยม พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นในระดับพระโสณี (สะโพก)พระพักตร์สี่เหลี่ยม เคร่งขรึม พระเนตรประดับมุก มีพระเนตรที่สามวางขวางตามแนวตั้งอยู่กลางพระนลาฏ พระฑาฏิกะ (เครา) ยาว ทรงกระบังหน้าเหนือพระนลาฏ เกล้าพระเกศาเป็นมวยทรงกระบอก ประดับอุณาโลมที่กลางมวยพระเกศา ทรงกุณฑลทรงตุ้มแหลม สุนทรียภาพโดยรวมแสดงถึงแรงบันดาลใจจากประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์ในวัฒนธรรมลพบุรีหรือเขมรในประเทศไทยเด่นชัดมาก พระวรกายส่วนบนประดับด้วยกรองศอ พาหุรัดที่ทำเป็นรูปนาค และทรงสังวาลนาค พระวรกายส่วนล่างทรงสมพตสั้น ชักชายผ้าออกมาเป็นวงที่บริเวณพระอุทร ตรงกึ่งกลางมีชายผ้าซ้อนลงมา 3 ชั้นประดับตกแต่งด้วยลายช่อดอกไม้ ส่วนลวดลายของตัวผืนผ้าเป็นเส้นตามแนวตั้งและมีลายที่เชิงผ้า มีเข็มขัดประดับตกแต่งด้วยตุ้งติ้งรัดสมพตนี้ไว้ รูปแบบโดยรวมของสมพตสะท้อนความเกี่ยวข้องกับการนุ่งสมพตในประติมากรรมศิลปะลพบุรีหรือเขมรในประเทศไทยแบบบายน แต่ขณะเดียวกันการประดับตกแต่งด้วยลายช่อดอกไม้ที่คล้ายงานในสมัยอยุธยาตอนกลาง

สถาปัตยกรรมพระอารามโรงเจิน
ปราสาทพระอารามโรงเจิน เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เพื่อประดิษฐานพระเทวราช และศิวลึงค์ประจำพระองค์ ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนฐานเป็นชั้นที่สร้างขึ้นจากศิลาแลง ด้านบนปรากฏฐานศิวลึงค์อยู่ ซึ่งอาจเคยอยู่ในปราสาทที่หักพังไปหมดแล้ว ฐานเป็นชั้นนี้คงเป็นความพยายามในการจำลองเขาไกรลาส ที่ประทับของพระศิวะ และต่อมาจกลายเป็นประเพณีในสมัยเมืองพระนครที่ปราสาทที่ประดิษฐานพระเทวราชและศึวลึงค์ประจำพระองค์กษัตริย์ต้องเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นเสมอ

สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน C1
ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทประธานของมิเซินกลุ่ม C และเป็นปราสาทประธานเพียงหลังเดียววที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลังคาเป็นทรงประทุน (เรียกว่าทรงศาลาในศิลปะอินเดียใต้) เนื่องจากปราสาทมีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้ด้านยาวมีเสาติดผนังจำนวนถึง 7 ต้น โดยสามารถมองเห็นได้เพียงหกต้นเท่านั้น เนื่องจากเสาต้นกลางถูกซุ้มบดบัง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอๆในศิลปะมิเซิน A1 ซุ้มมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ซึ่งเป็นซุ้มที่สืบต่อมาจากซุ้มแบบดงเดือง แต่กลับเป็นซุ้มตอนเดียว ไม่ได้ปรากฏปีกนกต่อเนื่องกันลงมาซึ่งแตกต่างไปจากซุ้มดงเดือง ภายในซุ้มมักปรากฏเทวดาถือกระบอง ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของศิลปะมิเซิน A1

ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน

ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน

ประติมากรรมพระหริหระ
เป็นประติมากรรมลอยตัว ปรากฏการทำชฎามงกุฎที่ด้านซีกขวา และกีรีฏมงกุฎที่ด้านซ้าย แสดงถึงความเป็นพระศิวะและพระวิษณุ ด้านบนขวามีชิ้นส่วนของตรีศูลซึ่งเป็นอาวุธของพระศิวะ ด้านบนซ้ายปรากฏพระกรถือจักรซึ่งเป็นอาวุธของพระวิษณุ ประติมากรรมทรงนุ่งผ้านุ่งแบบโทตียาว ตามอิทธิพลของศิลปะอินเดีย ด้านซ้ายของผ้าปรากฏหัวเสืออันเป็นผ้านุ่งของพระศิวะ

สถาปัตยกรรมโคปุระของปราสาทบันทายสรี
โคปุระของปราสาทบันทายสรี ประกอบด้วยหน้าจั่วสามเหลี่ยมซึ่งเลียนแบบมาจากอาคารเครื่องไม้ ที่น่าสนใจก็คือ ที่ปลายหน้าจั่วมีลายตกแต่งเป้รูปขมวดม้วน ซึ่งอาจกลายมาจากงวงของมกรก็ได้ หน้าจั่วเช่นนี้ปรากกฎมาก่อนกับปราสาทในศิลปะเกาะแกร์ และจะปรากฏอีกกับปราสาทในศิลปะบาปวนบางหลัง เช่นปราสาทพระวิหาร

สถาปัตยกรรมมณฑปของปราสาทบันทายสรี
ปราสาทบันทายสรีเป็นปราสาทบนพื้นราบที่เน้นแนวแกนกลาง ด้วยเหตุนี้ปราสาทประธานจึงปรากฏมณฑปในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งตรงตามแนวแกนตะวันออก มณฑปนั้นเป็นห้องสำหรับรอกระทำพิธีกรรมและเป็นห้องสำหรับผู้ศรัทธาที่ไม่สามารถเข้าไปภายในครรภคฤหะได้ หน้าบันด้านหน้าของปราสาทบันทายสรี เป็นภาพของพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึงถือเป็นเทพประจำทิศตะวันออกที่มักปรากฏเสมอแม้ว่าปราสาทหลังนั้นจะไม่ได้อุทิศให้กับพระอินทร์ก็ตาม