ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมเจดีย์นาคยน
เจดียวิหารสมัยพุกามตอนต้น ซึ่งนิยมเรือนธาตุทรงเตี้ยและมืดทึบ ด้วยเหตุนี้ หน้าต่างโดยรอบของเจดีย์จึงปิดทึบไปด้วยแผง ด้านบนปรากฏหลังคาลาดซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของเจดีย์ในสมัยพุกามตอนต้น อย่างไรก็ตาม เจดีย์องค์นี้มีแนวโน้มไปสู่พุกามตอนปลายแล้ว เนื่องด้วยเคล็กที่ซุ้มมีขนาดค่อนข้างยืดสูง ด้านบนสุดเป็นศิขระแบบที่ปรากฏซุ้มเรียงกันที่เก็จประธาน ศิขระแบบนี้ปรากฏเสมอๆในรัชกาลพระเจ้าจันสิตถา ดังปรากฏเช่นกันที่อานันทเจดีย์
สถาปัตยกรรมปราสาทโพนคร
ปราสาทโพนคร เป็นปราสาทในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยมิเซิน A1 และบิญดิ่น ดังจะเห็นได้จากเสาติดผนังจำนวน 5 ต้นที่ยังคงมีร่องเสาอยู่ตามแบบมิเซิน A1 แต่ไม่มีลวดลายแล้ว ส่วนซุ้มกลับเป็นใบหอกตามแบบบิญดิ่น
สถาปัตยกรรมที่ตั้งของปราสาทโพนคร
ปราสาทโพนคร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่กำลังออกสู่ทะเล ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญทางภูมิศาสตร์ (Landmark) นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับคติที่เชื่อว่าพระเทวีทรงเกี่ยวข้องกับแม่น้ำและทะเล ซึ่งมีความแบนเหมือนโยนีอีกด้วย
ประติมากรรมหน้าบันรูปพระวิษณุ
พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีสี่พระกร ถือจักร สังข์ คทาและธรณี ทรงกิรีฏมกุฏหรือหมวกทรงกระบอกอันแสดงฐานะความเป็นกษัตริย์ของพระองค์ อาจเป็นไปได้ที่หน้าบันย่อมแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระวิษณุ ซึ่งพบน้อนกว่าปราสาทที่สร้างอุทิศให้กับพระศิวะมาก
ประติมากรรมหน้าบันรูปครุฑและนาค
พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีพาหนะที่สำคัญคือครุฑและนาค ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าบันทั้งสองตัว ครุฑเป็นพาหนะของพระวิษณุในคราวเสด็จไปในที่ต่างๆ ส่วนนาคเป็นบัลลังก์บรรทมของพระองค์บนเกษียรสมุทร
ประติมากรรมหน้าบันรูปมหิษาสูรมรรทนีที่ปราสาทโพนคร
ปราสาทโพนคร เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปของพระภควตี ภาคหนึ่งของพระอุมา เป็นเทพีประจำอาณาจักรจามปาภาคใต้ โดยมีประวัติมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ว่า มีการสถาปนาปราสาทถวายแด่เทวรูปพระภควตีมาตั้งแต่สมัยหัวล่าย ต่อมาถูกองทัพขอมข้าทำลายในพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้มีการสร้างปราสาทหลังใหม่ในสมัยบิญดิ่นตอนต้น ซึ่งก็คือปราสาทหลังปัจจุบัน
ประติมากรรมพญานาค
ประติมากรรมพญานาค มักปรากฏอยู่ในส่วนของราวทางเดิน หรือบันได มีลักษณะเป็นนาคหลายเศียร โดยเฉพาะนิยมการทำนาค 7 เศียร ตัวนาคในศิลปะเขมรในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 นิยมทำนาคหัวโล้นไม่มีการสวมกระบังหน้า
ประติมากรรมเศียรพญานาค
นาค มักพบอยู่โดยทั่วไปในงานศิลปกรรมเขมร โดยมักเป็นองค์ประกอบของทางเดินหรือราวบันไดเสมอ โดยนาคมีเศียร 5 เศียร เศียรทั้งหมดหันหน้าตรงมีการสวมกระบังหน้าและรัศมีเป็นแผ่นเดียวกัน เป็นลักษณะตามแบบศิลปะนครวัด