ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 17 ถึง 24 จาก 26 รายการ, 4 หน้า
มณฑปวัดศรีชุม
สุโขทัย
สถาปัตยกรรมมณฑปวัดศรีชุม

มณฑปอยู่ในผังสี่เหลี่ยม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ภายใน มีอุโมงค์ทางเดินอยู่ภายในผนังของมณฑป อุโมงค์นี้ไต่ระดับขึ้นไปจนถึงยอด ภายในอุโมงค์ประดับตกแต่งด้วยภาพสลักเรื่องชาดก การทำอุโมงค์ระหว่างผนังและสามารถเดินไปถึงด้านบนได้เช่นนี้อาจเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมพม่าสมัยเมืองพุกาม ส่วนยอดของมณฑปพังทลายลงแล้ว มีแนวสันนิษฐานไว้สองแบบ แบบแรกเชื่อว่าเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้อง แบบที่สองเชื่อว่าเป็นเจดีย์ทรงกลม

หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ
ลพบุรี
สถาปัตยกรรมหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ

หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ความสูง 2 ชั้น และ3 ชั้น มีรูปแบบผสมผสานระหว่างไทย ตะวันตก และจีน โครงสร้างหลังคารูปจั่ว มุงกระเบื้องกาบกล้วยดินเผาแบบจีน หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า มีฉัตรกระหนาบ 2 ข้าง ส่วนหน้าจั่วพระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัยเป็นรูปพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร มีฉัตรกระหนาบ 2 ข้าง หมู่พระที่นั่งประกอบด้วยห้องโถงหลายห้องมีมุขที่ด้านหน้าขนาบอัฒจันทร์ซึ่งเป็นทางขึ้นอยู่ตรงกลาง อาคารด้านในเป็นอาคารขวาง เป็นท้องพระโรงซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเป็นท้องพระโรงใหญ่สำหรับเสด็จออกว่าราชการ ตอนในเป็นท้องพระโรงเล็ก จากท้องพระโรงมีทางขึ้นไปสูระบียงอัฒจันทร์ชั้น 3 ซึ่งเป็นห้องบรรทม หมู่พระที่นั่งมีการใช้ซุ้มวงโค้งปลายแหลมและโค้งมนมาใช้ในการประดับอาคารซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะตะวันตกที่ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งทำให้เกิดความกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมเดิมที่อยู่ใกล้เคียง

สุนันทานุสาวรีย์
จันทบุรี
สถาปัตยกรรมสุนันทานุสาวรีย์

อนุสาวรีย์ก่อด้วยหินตัดในผังฐานสีเหลี่ยมจัตุรัส ก่อเป็นยอดแหลมทรงพีระมิด กลางด้านมีจารึกพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5

พระมหามณฑป
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมพระมหามณฑป

เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีเสาพาไลเพิ่มมุมที่ประดับบัวหัวเสาอยู่โดยรอบอาคาร ตัวอาคารและเสาปิดทองประดับกระจก เครื่องหลังคามีลักษณะเป็นเรือนซ้อนชั้นยอดแหลมในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมแสดงความเป็นเรือนฐานันดรสูง ประกอบด้วยชั้นหลังคาลาดที่มีหน้าจั่วขนาดเล็กซ้อนกัน ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆัง บัลลังก์ เหม บัวคลุ่มเถาและปลียอด ประดับกระดิ่งทองเหลืองที่ชายคารอบอาคาร

เจดีย์ชเวมอดอ
พะโค
สถาปัตยกรรมเจดีย์ชเวมอดอ

เจดีย์มอญมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือ แผนผังเป็นแปดเหลี่ยมเพิ่มมุม ฐานลาดเอียง ไม่มีบันไดขึ้นและลานประทักษิณด้านบน รวมถึงสถูปิกะมักประดับอยู่ด้านล่างเสมอ และมีปลีที่ยืดยาวเหมือนปลีกล้วย ทั้งหมดนี้แตกต่างไปจากเจดีย์แบบพม่าแท้ทุกประการ เจดีย์องค์นี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดภายหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ศิลปกรรมของเจดีย์องค์นี้จึงเป็นสมัยปัจจุบันซึ่งมีสัดส่วนไม่งดงามเท่าเจดีย์องค์เดิม

มหาเจดีย์
สถาปัตยกรรมมหาเจดีย์

เจดีย์ประกอบด้วยฐานในผังแปดเหลี่ยมเพิ่มมุม เป็นฐานลาดตามแบบมอญ แต่กลับมีบันไดขึ้นและมีทางประทักษิณด้านบนตามแบบพม่า ถัดขึ้นไปได้แก่ฐานเขียงในผังกลมจำนวนมากตามแบบมอญ รองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นของซ่อมใหม่สมัยปัจจุบัน การที่เจดีย์องค์นี้มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะมอญและศิลปะพม่านั้น สอดรับกับประวัติศาสตร์ของพม่าในระยะนั้นที่ราชวงศ์ตองอูของพม่าได้ยกทัพลงมายึดครองเมืองหงสาวดีของชาวมอญ จึงทำให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างเจดีย์สองแบบ

ลิงถวายบาตรน้ำผึ้ง จิตรกรรมในเจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมลิงถวายบาตรน้ำผึ้ง จิตรกรรมในเจดีย์ปยาตองสู

จิตรกรรมแสดงการใช้โทนสีร้อนแบบปาละ คือ เน้นสีแดง เหลือง ดำ ขาว ส่วนรูปแบบของพระพุทธรูปล้วนแต่เกี่ยวข้องกับจิตรกรรมในใบลานของศิลปะปาละซึ่งคงถูกนำมาที่พุกามและกลายเป็นต้นแบบสำหรับจิตรกรพุกามด้วย อย่างไรก็ตาม การถมลวดลายลงไปในพื้นที่ว่างเปล่านั้นเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะพุกามตอนปลาย

เทวดาและพระสาวกเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตอนปรินิพพาน
โมนยวา
จิตรกรรมเทวดาและพระสาวกเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตอนปรินิพพาน

จิตรกรรมในสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือ ใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพะเป็นแถบยาวๆคล้ายภาพบนใบลาน