ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ

คำสำคัญ : พระที่นั่ง, หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ, พระนารายณ์ราชนิเวศน์, รัชกาลที่ 4

ชื่อหลักพระนารายณ์ราชนิเวศน์
ชื่ออื่นวังนารายณ์
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลท่าหิน
อำเภอเมือง
จังหวัดลพบุรี
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 14.7999927
Long : 100.609842
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 673249.84
N : 1636826.35
ตำแหน่งงานศิลปะเขตพระราชฐานชั้นใน

ประวัติการสร้าง

สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ.2399

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 78 ตอนที่ 94 วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504

ลักษณะทางศิลปกรรม

หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ความสูง 2 ชั้น และ3 ชั้น มีรูปแบบผสมผสานระหว่างไทย ตะวันตก และจีน โครงสร้างหลังคารูปจั่ว มุงกระเบื้องกาบกล้วยดินเผาแบบจีน หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า มีฉัตรกระหนาบ 2 ข้าง ส่วนหน้าจั่วพระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัยเป็นรูปพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร มีฉัตรกระหนาบ 2 ข้าง หมู่พระที่นั่งประกอบด้วยห้องโถงหลายห้องมีมุขที่ด้านหน้าขนาบอัฒจันทร์ซึ่งเป็นทางขึ้นอยู่ตรงกลาง อาคารด้านในเป็นอาคารขวาง เป็นท้องพระโรงซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเป็นท้องพระโรงใหญ่สำหรับเสด็จออกว่าราชการ ตอนในเป็นท้องพระโรงเล็ก จากท้องพระโรงมีทางขึ้นไปสูระบียงอัฒจันทร์ชั้น 3 ซึ่งเป็นห้องบรรทม หมู่พระที่นั่งมีการใช้ซุ้มวงโค้งปลายแหลมและโค้งมนมาใช้ในการประดับอาคารซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะตะวันตกที่ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งทำให้เกิดความกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมเดิมที่อยู่ใกล้เคียง

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและอาคารอื่นๆในบริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์หาราช จ.ลพบุรี โดยมีพระราชดำริที่จะสร้างไว้เป็นพระราชวังสำรองในต่างจังหวัด หากกรุงเทพฯเกิดภัยจากข้าศึก โดยมีหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎเป็นอาคารประธาน ประกอบด้วยพระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย พระที่นั่งไชยศาสตรากร และพระที่นั่งอักษรศาสตราคม ครั้นเมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เสด็จฯไปประทับแรมเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเนื่องจากอากาศไม่ดี

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องประเพณีในราชสำนัก

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-06-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

ศิลปากร, กรม. ทะเบียนโบราณสถาน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532.

ภูธร ภูมะธน. การสร้างเมืองลพบุรีให้เป็นราชธานีชั้นใน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525.