ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมจันทิจาวี
จันทิประกอบด้วยเรือนธาตุซึ่งมีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก ด้านหน้ามีประตูขนาดใหญ่ มีเส้นรัดอกคาดเรือนธาตุและหน้ากาลมีลักษณะดุร้ายตามแบบศิลปะชวาตะวันออก ส่วนยอดนั้นมีลักษณะตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออกโดยทั่วไป กล่าวคือ ประกอบด้วย “ชั้นหน้ากระดาน” ซ้อนกันถี่มากจนเส้นรอบนอกของยอดเป็นเส้นตรง ซึ่งแสดงความใกล้ชิดกับยอดแบบ “เมรุ” ในศิลปะบาหลีเข้าไปทุกที ที่มุมของหลังคาเทวาลัยทุกชั้นประดับด้วยหน้ากาลรูปสามเหลี่ยม ซึ่งยอดเมรุสลักหินในศิลปะบาหลีก็จะปรากฏการประดับทำนองนี้เช่นกัน
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานตามาเรีย
โบสถ์แห่งเมือง Santa Maria มีผนังด้านหน้าตามแบบบารอค โดย façade ขนาบด้วยหอคอยสองด้านและเสาอีกสองต้น แบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน ด้านบนปรากฏหน้าบันแบบบารอคที่ใช้หน้าบันวงโค้งตรงกลางขนาบด้วยหน้าบันโค้งเว้า ทางด้านข้างซึ่งทำให้หน้าบันด้านบนมีความลื่นไหลแตกต่างไปจากแบบคลาสิก ที่ปลายสุดซึ่งตรงกับหอคอยขนาบข้างนั้นปรากฏการประดับถ้วยรางวัล ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบแบบบารอค ด้านข้างของโบสถ์นั้นถูกค้ำยันด้วย buttress ที่หนาหนัก อันเป็นการทำให้ผนังด้านข้างของโบสถ์ทนต่อแผ่นดินไหวอันรุนแรงของฟิลิปปินส์
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์เจดีย์ปยาตองสู
พระโพธิสัตว์ที่เจดีย์ปยาตองสู ทรงเครื่องทรงที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น มงกุฎสามตาบ ผ้านุ่งที่เป็นริ้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตว์แสดงอาการจีบนิ้วและถือ “ช่อกนก” อันแตกต่างไปจากพระโพธิสัตว์ในศิลปะพุกามตอนต้นที่ยังคงถือดอกไม้จามแบบศิลปะปาละ
ประติมากรรมนางหาริตี
จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ
ประติมากรรมพระหริหระ
ลักษณะสำคัญของประติมากรรมชวาภาคตะวันออก คือ ที่แผ่นหลังประดับด้วย “ใบบัว”จำนวนมาก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ นอกจากนี้ ประติมากรรมยังถูกตกแต่งด้วยสร้อยเพชรพลอยและอุบะจนเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ตาบ กรรเจียกเพชรพลอย สร้อยยัชโญปวีตไข่มุกที่มีอุบะห้อยจนเต็ม รวมถึงเข็มขัดที่ประดับด้วยไข่มุกและอุบะห้อยจนเต็มที่เช่นกัน
ประติมากรรมครุฑกำลังนำน้ำอมฤต
จันทิกิดาล เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803 จันทิแห่งนี้มีภาพเล่าเรื่องพญาครุฑขโมยน้ำอมฤตเพื่อมาช่วยพระมารดา น้ำอมฤตเป็นน้ำแห่งความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ จึงสัมพันธ์กับคติเทวาราชา คือช่วยให้ผู้ตายได้รับชีวิตอมตะ
ประติมากรรมทับหลัง
ทับหลังในสมัยกุเลนจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะชวา กล่าวคือการทำหน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านบนของท่อนพวงมาลัย ปลายทั้งสองข้างทำเป็นมกรหันหน้าออก ตามแบบซุ้มกาล-มกรตามศิลปะชวาภาคกลาง ท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น ห้อยลงตามแบบศิลปะกำพงพระ เหรียญทรงกลมจากศิลปะกำพงพระปรับเปรียบเป็นลายดอกไม้กลม ใต้ท่อนพวงมาลัยระหว่างช่องใบไม้ตกลงปรากฏการทำพวงอุบะแทรกอยู่
ประติมากรรมการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ
นอกจากพระเยซูเจ้าแล้ว พระนางมาเรียก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้รับพรจากพระเป็นเจ้าในการยกขึ้นสู่สวรรค์ทั้งเป็น เนื่องจากพระนางเป็นหญิงพรหมจรรย์ผู้เป็นมารดาแห่งพระเยซูเจ้า ทรงปราศจากบาปกำเนิดและทรงยิ่งใหญ่กว่าหญิงทั้งปวง พระนางยังได้รับเกียรติยกขึ้นเป็นราชินีแห่งสวรรค์อีกด้วย การขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ หรือที่เรียกกันว่า Assumption นั้นไม่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิ้ลแต่เกิดมาจากความเชื่อของคริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาธอลิก