ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จันทิจาวี
คำสำคัญ : จันทิ, ราชวงศ์สิงหาส่าหรี
ชื่อหลัก | จันทิจาวี |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | จันทิจาวี |
รัฐ/แขวง | ชวา ตะวันออก |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -7.6626483 Long : 112.6698616 |
ประวัติการสร้าง | จันทิจาวี เป็นที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้ากฤตนครเช่นเดียวกับจันทิสิงหาส่าหรี โดยตั้งอยู่ที่เชิงเขาเวริลังตรงข้ามเขาเปนังกุหงันซึ่งถือเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในสมัยชวาภาคตะวันออก |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | จันทิประกอบด้วยเรือนธาตุซึ่งมีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก ด้านหน้ามีประตูขนาดใหญ่ มีเส้นรัดอกคาดเรือนธาตุและหน้ากาลมีลักษณะดุร้ายตามแบบศิลปะชวาตะวันออก ส่วนยอดนั้นมีลักษณะตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออกโดยทั่วไป กล่าวคือ ประกอบด้วย “ชั้นหน้ากระดาน” ซ้อนกันถี่มากจนเส้นรอบนอกของยอดเป็นเส้นตรง ซึ่งแสดงความใกล้ชิดกับยอดแบบ “เมรุ” ในศิลปะบาหลีเข้าไปทุกที ที่มุมของหลังคาเทวาลัยทุกชั้นประดับด้วยหน้ากาลรูปสามเหลี่ยม ซึ่งยอดเมรุสลักหินในศิลปะบาหลีก็จะปรากฏการประดับทำนองนี้เช่นกัน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคตะวันออก ราชวงศ์สิงหาส่าหรี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 19 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ลัทธิ/นิกาย | ไศวนิกาย |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |