ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 3 จาก 3 รายการ, 1 หน้า
จิตรกรรมเรื่องศรีธนญชัย
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องศรีธนญชัย

จิตรกรรมฝาผนังเรื่องศรีธนญชัยอยู่บริเวณผนังระหว่างช่องหน้าต่างของพระวิหารวัดปทุมวนาราม เทคนิคการเขียนภาพและรูปแบบเป็นเช่นเดียวกับจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งอื่นๆ กล่าวคือ เริ่มใช้หลักทัศนียวิทยาแสดงระยะและมิติของภาพ คำนึงถึงความสมจริง โดยมีภาพสถาปัตยกรรมตามสมัยนิยมในขณะนั้น อย่างภาพปราสาทราชวังที่จำลองอาคารบางแห่งจากพระบรมมหาราชวัง ภาพวัดซึ่งจำลองภาพวัดปทุมวนาราม ภาพผู้คนแต่งกายอย่างสมจริง เช่น ทหารที่ใส่เครื่องแบบที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก ภาพชาวบ้านที่แต่งกายอย่างไทย ลาว ภาพบรรยากาศและทิวทัศน์ต่างๆแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น ผืนน้ำที่มีเรือใบ และท้องฟ้าที่มีก้อนเมฆ

พระวิษณุ
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระวิษณุ

พระวิษณุองค์นี้ถือเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางได้เป็นอย่างดี พระวิษณุทรงกิรีฏมกุฎที่ประดับด้วยตาบจำนวน 5 ตายตามแบบปาละ ทรงอุทรพันธะตามแบบอินเดียใต้ ทรงผ้านุ่งสั้นข้างยาวข้างซึ่งเป็นผ้านุ่งแบบหนึ่งในศิลปะปาละ มีเข็มขัดเพชรพลอยตามแบบปาละแต่มีผ้าคาดวงโค้งตามแบบอินเดียใต้ น่าสังเกตว่าเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางนั้นมักเป็นส่วนผสมกันระหว่างศิลปะปาละและอินเดียใต้

หน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
เสียมเรียบ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี