ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมเรื่องศรีธนญชัย
คำสำคัญ : วัดสระปทุม, วัดปทุมวนาราม, จิตรกรรมเรื่องศรีธนญชัย, จิตรกรรมเรื่องเชียงเมี่ยง, วัดปทุม
ชื่อเรียกอื่น | จิตรกรรมเรื่องเซียงเมี่ยง |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดปทุมวนาราม |
ชื่ออื่น | วัดปทุม, วัดสระปทุม |
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ตำบล | ปทุมวัน |
อำเภอ | เขตปทุมวัน |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.745912 Long : 100.536659 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 666141.88 N : 1520154.79 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ผนังระหว่างช่องหน้าต่างภายในพระวิหาร |
ประวัติการสร้าง | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดปทุมวนารามขึ้นเมื่อ พ.ศ.2396 ในคราวเดียวกับที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสระปทุมวันในบริเวณท้องนาหลวงในคลองบางกะปิ สำหรับเป็นที่ประทับทรงสำราญพระราชอิริยาบถ เดิมชื่อวัดประทุมวันวนาราม หรือวัดสระปทุม เมื่อแล้วเสร็จได้ทรงนิมนต์พระสงฆ์เชื้อสายลาวจากวัดบวรนิเวศมาปกครองวัด และได้อัญเชิญพระแสนและพระใสซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ 3 มาประดิษฐานที่วัดปทุมวนาราม ภายหลังได้ทรงอุทิศพระราชกุศลในการสร้างวัดนี้พระราชทานแก่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2404 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ภาพเขียนสีฝุ่น |
ลักษณะทางศิลปกรรม | จิตรกรรมฝาผนังเรื่องศรีธนญชัยอยู่บริเวณผนังระหว่างช่องหน้าต่างของพระวิหารวัดปทุมวนาราม เทคนิคการเขียนภาพและรูปแบบเป็นเช่นเดียวกับจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งอื่นๆ กล่าวคือ เริ่มใช้หลักทัศนียวิทยาแสดงระยะและมิติของภาพ คำนึงถึงความสมจริง โดยมีภาพสถาปัตยกรรมตามสมัยนิยมในขณะนั้น อย่างภาพปราสาทราชวังที่จำลองอาคารบางแห่งจากพระบรมมหาราชวัง ภาพวัดซึ่งจำลองภาพวัดปทุมวนาราม ภาพผู้คนแต่งกายอย่างสมจริง เช่น ทหารที่ใส่เครื่องแบบที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก ภาพชาวบ้านที่แต่งกายอย่างไทย ลาว ภาพบรรยากาศและทิวทัศน์ต่างๆแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น ผืนน้ำที่มีเรือใบ และท้องฟ้าที่มีก้อนเมฆ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | จิตรกรรมฝาผนังเรื่องศรีธนญชัยอยู่บริเวณผนังระหว่างช่องหน้าต่างของพระวิหารวัดปทุมวนาราม เทคนิคการเขียนภาพและรูปแบบเป็นเช่นเดียวกับจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งอื่นๆ กล่าวคือ เริ่มใช้หลักทัศนียวิทยาแสดงระยะและมิติของภาพ คำนึงถึงความสมจริง โดยมีภาพสถาปัตยกรรมตามสมัยนิยมในขณะนั้น อย่างภาพปราสาทราชวังที่จำลองอาคารบางแห่งจากพระบรมมหาราชวัง ภาพวัดซึ่งจำลองภาพวัดปทุมวนาราม ภาพผู้คนแต่งกายอย่างสมจริง เช่น ทหารที่ใส่เครื่องแบบที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก ภาพชาวบ้านที่แต่งกายอย่างไทย ลาว ภาพบรรยากาศและทิวทัศน์ต่างๆแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น ผืนน้ำที่มีเรือใบ และท้องฟ้าที่มีก้อนเมฆ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | นิทานท้องถิ่น |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | โอชนา พูลทองดีวัฒนา. “การศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องศรีธนญชัย ภายในพระวิหารวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร”. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543. |