ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 16 จาก 32 รายการ, 4 หน้า
จิตรกรรมฝาผนัง วัดทุ่งศรีเมือง
อุบลราชธานี
จิตรกรรมจิตรกรรมฝาผนัง วัดทุ่งศรีเมือง

จิตรกรรมฝาผนังที่หอพระพุทธบาทนี้มีการเขียนทั้งบนผนัง บานแผละ และเสา ที่ผนังเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก พระมาลัย และพุทธประวัติ ที่บานแผละเขียนเรื่องปาจิตตกุมารชาดก จุลปทมุชาดกและสินไซ ที่เสาเขียนเรื่องสินไซ ลายเครือเถาและลายพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยภาพจิตรกรรมแสดงเทคนิคที่น่าจะได้รับถ่ายทอดมาจากช่างหลวงในกรุงเทพมหานคร เช่น การเขียนตัวพระ-ตัวนาง การเขียนปราสาทราชวัง วรรณะสีแต่ก็มีการแทรกภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านหรือภาพกากลงไปด้วย

พระพุทธรูป วัดทุ่งศรีเมือง
อุบลราชธานี
ประติมากรรมพระพุทธรูป วัดทุ่งศรีเมือง

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย พระพักตร์เสี้ยม เม็ดพระศกเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวขนาดใหญ่และสูง มีเส้นขอบพระพักตร์ พระเนตรมองตรง พระนาสิกงุ้ม พระกรรณโค้งงอน ขอบพระโอษฐ์หนายิ้มแบบล้านช้าง ชายสังฆาฎิใหญ่ยาวจรดพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน

หอพระแก้ว
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระแก้ว

หอพระแก้ว มีเค้าโครงว่าสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์หรือก่อนหน้านั้นแล้ว เนื่องจากรูปแบบมีความคล้ายคลึงกับพระอุโบสถของวัดพระศรีรัตนศาสนารามที่ประกอบไปด้วยลานประทักษิณภายในพาไลโดยรอบ อย่างไรก็ตาม หอพระแก้วคงถูกทิ้งร้างตั้งแต่คราวพระเจ้าอนุวงศ์เสียเมืองเวียงจันทน์ และต่อมาได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ หน้าบันซึ่งมีแผงแรคอสองแบ่งช่องอยู่ด้านล่างนั้น สามารถเปรียบเทียบได้กับหน้าบันของวิหารวัดองค์ตื้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสกุลช่างเวียงจันทน์ที่ถูกสลักขึ้นในระยะหลังมากๆ (รัชกาลพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ?) อนึ่ง ตรงช้างสามเศียรเป็นตราประจำพระราชอาณาจักรลาวก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง

หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นประตูของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มประตูยอด ด้านในมีหงส์หันเข้าซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา ยอดปราสาทด้านบนและทวารบาลก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาเช่นกัน

หอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง

หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นหน้าต่างของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มหน้าต่างยอดปราสาท ชั้นหลังคาประกอบด้วยหลังคาลาดขนาดใหญ่ 1 ชั้นและเชิงบาตรซ้อนกันขึ้นไป เค้าโครงของปราสาทมีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนา โดยรอบผนังปรากฏร่องรอยของลายปูนปั้นที่แบ่งเป็นช่องๆ ซึ่งอาจเคยมีภาพเล่าเรื่องมาก่อน ปัจจุบันหลุดร่วงลงเกือบหมด

ธาตุ วัดสีเมือง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดสีเมือง

ธาตุวัดสีเมือง เป็นธาตุที่สร้างด้วยศิลาแลงซึ่งแตกต่างไปจากธาตุที่สร้างด้วยอิฐในระยะร่วมสมัย เท่าที่เหลืออยู่ปรากฏเป็นฐานบัวที่มีบัวคว่ำและท้องไม้ขนาดใหญ่ที่คาดด้วยลูกแก้วอกไก่ ธาตุองค์นี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอม อย่างไรก็ตาม ขนาดของศิลาแลงที่เล็กกว่าขอมมากและการใช้ลูกแก้วอกไก่คาดกลางท้องไม้ย่อมแสดงว่าธาตุองค์นี้ไม่ใช่ศิลปะขอมอย่างแน่นอน

ธาตุวัดแสน
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมธาตุวัดแสน

เจดีย์องค์นี้มีลักษณะเป็นเจดีย์แบบล้านช้างอย่างแท้จริง กล่าวคือ ประกอบด้วยฐานบัวเข่าพรหมที่มีกาบเท้าสิงห์เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน อันสืบมาจากฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลาง ลวดบัวของฐานลดหน้ากระดานบนทิ้ง โนกำหนดให้บัวหงายกับบัวคว่ำประกบกันและตวัดงอนขึ้นเพื่อให้เส้นรอบนอกของฐานมีความลื่นไหลต่อเนื่อง ส่วนกลางเป็นบัวเหลี่ยมที่มีเส้นรอบนอกที่ลื่นไหลเช่นกัน บัวเหลี่ยมนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์หรือธาตุในศิลปะล้านช้าง ปรากฏทั้งในสกุลช่างหลวงพระบางและเวียงจันทน์

ธาตุพูสี
สถาปัตยกรรมธาตุพูสี

เจดีย์องค์นี้มีลักษณะเป็นเจดีย์ที่ใช้ “บัวเหลี่ยม” เป็นส่วนสำคัญตามแบบล้านช้าง อย่างไรก็ดี ฐานที่เป็นฐานบัวท้องไม้กว้างกลับมีความสัมพันธ์กับเจดีย์กลุ่มอิทธิพลล้านนามากกว่า ดังที่ปรากฏที่วัดอาไพและวัดหมื่นนาในเมืองหลวงพระบางเช่นกัน เจดีย์องค์ในผังสี่เหลี่ยมลบมุม ซึ่งถือเป็นแผนผังที่นิยมสำหรับธาตุในศิลปะล้านช้าง