ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 16 จาก 20 รายการ, 3 หน้า
จันทิหลังบริวาร: จันทิเซวู
กลาเตน
สถาปัตยกรรมจันทิหลังบริวาร: จันทิเซวู

แผนผังรวมของจันทิเซวูประกอบด้วยจันทิประธานตรงกลางซึ่งล้อมรอบด้วยจันทิบริวารจำนวนมาก แผนผังจันทิเซวูอยู่จึงในระบบ “มณฑล” หรือการจำลองจักรวาลที่เต็มไปด้วยที่ประทับของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์และเทพเจ้าในตำแหน่งต่างๆ อนึ่ง ชื่อจันทิเซวู ซึ่งแปลว่าจันทิพันหลัง ซึ่งคงได้มาจากจันทิบริวารจำนวนมากนั่นเอง แม้ว่าแท้จริงแล้วจะมีเพียง 240 หลังก็ตามจันทิบริวารเหล่านี้ คงมีต้นเค้ามาจากห้องกุฏิจำนวนมากที่วงเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ล้อมรอบอาคารประธานที่ปหรรปุระในศิลปะปาละ แต่จันทิเซวูกลับออกแบบให้จันทิแต่ละหลังตั้งอยู่แยกออกจากกันเป็นอิสระ ยอดของจันทิบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยอาคารจำลองยอดสถูปิกะ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวยกเก็จเพื่อรองรับสถูปยอดที่มีสถูปิกะบริวารประดับอยู่สี่หรือแปดทิศ อนึ่ง ความซับซ้อนเช่นนี้ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย

พระโพธิสัตว์อากาศครรภ์
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อากาศครรภ์

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

ภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

พระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต

พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีรูปแบบที่แสดงอิทธิพลจากศิลปะจาลุกยะที่ถ้ำเอลโลร่ากับศิลปะปาละจากอินเดียภาคตะวันออก พระพุทธรูปมีอุณาโลมตามแบบศิลปะปาละแต่กลับห่มเฉียงดังที่ปรากฏกับพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทที่ถ้ำอชันตาและเอลโลร่า พระพุทธองค์แสดงการจับชายจีวรขณะนั่งห้อยพระบาทรวมถึงปรากฏชายจีวรที่ตกลงมาระหว่างพระเพลาทั้งสองข้างซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะที่ถ้ำเอลโลร่า ส่วนบัลลังก์ที่ประดับด้วยมกร วยาลและช้างก็ปรากฏมาก่อนแล้วทั้งที่ถ้ำเอลโลร่าและในศิลปะปาละ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต

ด้านข้างของพระพุทธรูปภายในจันทิเมนดุตปรากฏพระโพธิสัตว์ขนาบสองข้าง คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์หนึ่ง และพระโพธิสัตว์วัชรปาณิอีกองค์หนึ่ง พระโพธิสัตว์ที่จันมิเมนดุตมีเครื่องแต่งกายที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละมาก ทั้งการทรงกระบังหน้าที่มีตาบสามเหลี่ยม 3 จุด รูปแบบชฎามกุฏทรงกระบอกและการสวมวาสตรยัชโญปวีต รวมถึงการนั่งลลิตาสนะบนฐานกลีบบัวและรูปแบบพนักบัลลังก์

พระพุทธเจ้าทรงชนะมาร
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระพุทธเจ้าทรงชนะมาร

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย

การอภิเษกพระพุทธเจ้าภายหลังการปฐมเทศนา
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมการอภิเษกพระพุทธเจ้าภายหลังการปฐมเทศนา

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย

มหากปิชาดก
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมมหากปิชาดก

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย