ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จันทิหลังบริวาร: จันทิเซวู
คำสำคัญ : จันทิ, ราชวงศ์ไศเลนทร์, จันทิกะลาสัน, จันทิเซวู, จันทิปรัมบะนัน
ชื่อหลัก | จันทิเซวู |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | กลาเตน |
รัฐ/แขวง | ชวา ภาคกลาง |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -7.743889 Long : 110.492778 |
ประวัติการสร้าง | ในสมัยชวาภาคกลางตอนปลาย ราชวงศ์ไศเลนทร์ยังคงอุปถัมภ์ในการสร้างจันทิทางพุทธศาสนาอีกจำนวนมาก โดยส่วนมากจันทิในระยะนี้กระจุกตัวกันอยู่ที่เมือง Klaten ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมือง Yogyakarta กับเมือง Solo ในปัจจุบัน |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | แผนผังรวมของจันทิเซวูประกอบด้วยจันทิประธานตรงกลางซึ่งล้อมรอบด้วยจันทิบริวารจำนวนมาก แผนผังจันทิเซวูอยู่จึงในระบบ “มณฑล” หรือการจำลองจักรวาลที่เต็มไปด้วยที่ประทับของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์และเทพเจ้าในตำแหน่งต่างๆ อนึ่ง ชื่อจันทิเซวู ซึ่งแปลว่าจันทิพันหลัง ซึ่งคงได้มาจากจันทิบริวารจำนวนมากนั่นเอง แม้ว่าแท้จริงแล้วจะมีเพียง 240 หลังก็ตามจันทิบริวารเหล่านี้ คงมีต้นเค้ามาจากห้องกุฏิจำนวนมากที่วงเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ล้อมรอบอาคารประธานที่ปหรรปุระในศิลปะปาละ แต่จันทิเซวูกลับออกแบบให้จันทิแต่ละหลังตั้งอยู่แยกออกจากกันเป็นอิสระ ยอดของจันทิบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยอาคารจำลองยอดสถูปิกะ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวยกเก็จเพื่อรองรับสถูปยอดที่มีสถูปิกะบริวารประดับอยู่สี่หรือแปดทิศ อนึ่ง ความซับซ้อนเช่นนี้ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคกลางตอนปลาย |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 15 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |