ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 11 รายการ, 2 หน้า
ปราสาทโลเลย
เรอลั้วะ
สถาปัตยกรรมปราสาทโลเลย

ปราสาทโลเลยประกอบด้วยปราสาทก่อด้วยอิฐประดับด้วยปูนปั้นจำนวน 4 หลัง ตั้งเรียนกันบนพื้นราบซึ่งคงมีพื้นฐานมาจากปราสาทพระโคที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษเช่นเดียวกัน รายละเอียดทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับปราสาทตระพังพงและปราสาทบากอง กล่าวคือ ประกอบด้วยทับหลังและประตูหลอกที่สลักด้วยหิน ส่วนด้านข้างของเรือนธาตุปรากฏรูปเทพและเทพธิดาทวารบาล ด้านบนเป็นชั้นวิมานตามแบบอินเดียใต้แต่มีการยกเก็จจำนวนมากที่เก็จประธาน

ปราสาทบาแค็ง
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบาแค็ง

ปราสาทบาแค็งเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้น สร้างขึ้นบนภูเขาหินธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ปราสาทจึงสามารถสร้างด้วยหินทั้งหลังได้ แตกต่างไปจากปราสาทบากองที่ฐานเป็นชั้นสร้างอยู่บนพื้นราบ ปราสาทประกอบด้วยปราสาทบนยอดจำนวน 5 หลัง และปราสาทขนาดเล็กอีกจำนวน 60 หลังที่ฐานทั้งห้าชั้น ทุกหลักประดิษฐานศิวลึงค์ตามลัทธิไศวนิกายและหันหน้าไปทางทางทิศตะวันออกอันเป็นทิศมงคล เมื่อรวมปราสาทที่ด้านล่างแล้วนักวิชาการประมาณกันว่าปราสาทแห่งนี้มีจำนวนถึง 108 หลัง อันเป็นเลขมงคลในศาสนาฮินดู

ปราสาทบริวาร : ปราสาทบาแค็ง
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบริวาร : ปราสาทบาแค็ง

ปราสาทบาแค็งเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้น สร้างขึ้นบนภูเขาหินธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ปราสาทจึงสามารถสร้างด้วยหินทั้งหลังได้ แตกต่างไปจากปราสาทบากองที่ฐานเป็นชั้นสร้างอยู่บนพื้นราบ ปราสาทประกอบด้วยปราสาทบนยอดจำนวน 5 หลัง และปราสาทขนาดเล็กอีกจำนวน 60 หลังที่ฐานทั้งห้าชั้น ทุกหลักประดิษฐานศิวลึงค์ตามลัทธิไศวนิกายและหันหน้าไปทางทางทิศตะวันออกอันเป็นทิศมงคล เมื่อรวมปราสาทที่ด้านล่างแล้วนักวิชาการประมาณกันว่าปราสาทแห่งนี้มีจำนวนถึง 108 หลัง อันเป็นเลขมงคลในศาสนาฮินดู

ฐานเป็นชั้นที่ปราสาทเกาะแกร์
เกาะแกร์
สถาปัตยกรรมฐานเป็นชั้นที่ปราสาทเกาะแกร์

ปราสาทแห่งนี้ถือเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นที่สูงและสง่างามที่สุดในศิลปะขอม เนื่องจากมีฐานซ้อนกันขึ้นไปถึง 7 ชั้น ด้านบนคงเคยประดิษฐานปราสาทประธาน 1 หลัง อนึ่ง ปราสาทบนฐานเป็นชั้นในศิลปะเกาะแกร์สามารถศึกษาเปรียบเทียบได้กับปราสาทปักษีจำกรงที่เมืองพระนครอีกหลังหนึ่ง

อาคารยาวมีหน้าจั่วสามเหลี่ยม ปราสาทเกาะแกร์
เกาะแกร์
สถาปัตยกรรมอาคารยาวมีหน้าจั่วสามเหลี่ยม ปราสาทเกาะแกร์

อาคารยาวๆของปราสาทเกาะแกร์ สร้างด้วยหินทั้งหลังแต่คงเคยมีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้าประกอบด้วยหน้าจั่วสามเหลี่ยมซึ่งเลียนแบบมาจากอาคารเครื่องไม้ ที่น่าสนใจก็คือ ที่ปลายหน้าจั่วมีลายตกแต่งเป็นรูปขมวดม้วน ซึ่งอาจกลายมาจากงวงของมกรก็ได้ หน้าจั่วเช่นนี้จะปรากฏอีกกับปราสาทในศิลปะบันทายสรีและบาปวนบางหลัง เช่นปราสาทบันทายสรี ปราสาทพระวิหาร เป็นต้น อนึ่ง น่าสังเกต “รู” ที่หน้าบันซึ่งเคยเป็นเต้ารับแปของเครื่องไม้ซึ่งได้หายไปหมดสิ้นแล้ว

ปราสาทประธาน : ปราสาทบายน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบายน

ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตรปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน

พระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมพระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน

ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง อย่างไรก็ตม บางท่านเห็นว่าพระพักตร์ดังกล่าวอาจหมายถึงพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอันเป็นพระโพธิสัตว์แหงความกรุณาในพุทธศาสนามหายาน บาท่านเห็นว่าอาจเป็นสนัตกุมารพรหมอันเป็นพระพรหมในพุทธศาสนามหายานก็ได้ น่าสังเกตว่าพระพักตร์เหล่านี้ล้วนแต่มีการแสดงอารมณ์แบบเดียวกัน คือ ค่อนข้างลึกลับ ตาปิด ยิ้มมุมปากซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะว่า “ยิ้มแบบบายน”

ประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
อังกอร์
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้

ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทดวา